การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

การจัดสรรเงินทุนให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ถาวร





เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC

การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ

PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้

NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ

NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ

ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด

ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด

IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด

ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย

MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC

MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด

ถ้าเป็นโครงหารที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน จะเลือกโครงการที่ MIRR มีค่าสูงสุดเพียงโครงการเดียว แต่ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC
ถ้ากรณีที่ NPV กับ IRR ขัดแย้งกัน เช่น โครงการ ก NPV มากกว่าโครงการ ข แต่ IRR ของโครงการ ข มากกว่าโครงการ ก
โครงการ ก โครงการ ข

NPV 100 50

IRR 5% 8%

MIRR 9% 8.5%

ถ้าดูแต่ NPV ถ้าเป็นโครงการที่วัตถุประสงค์อย่างเดียวกันกจะเลือกโครงการ ก เพราะมีค่า NPV มากกว่าโครงการ ข

ถ้าดู IRR จะเลือกโครงการ ข เนื่องจากโครงการ ข มี IRR สูงกว่า WACC และสูงกว่าโครงการ ก

ถ้าเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งแบบนี้ให้ดูที่ MIRR เป็นสำคัญแล้วตัดสินใจเลือกโครงการที่ MIRR สูงกว่า ก็จะเลือกโครงการนั้น ดังนั้นจะเลือกโครงการ ก

ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะเลือกทั้ง 2 โครงการ

ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีค่า MIRR มาให้ดูที่ NPV เป็นหลักแล้วตัดสินใจเลือกโครงการที่ NPV เป็นบวกมากที่สุด

อัตราส่วนกิจกรรม (asset management ratios)

อัตราส่วนกิจกรรม (asset management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร โดยพิจารณาประสิทธิภาพภายในการใช้สินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดยอดขาย

อัตราส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย
2.1 Inventory Turnover อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
เป็นการวิเคราะห์ว่าใน 1 รอบระยะเวลาบัญชี สินค้ามีการหมุนเวียนกี่ครั้ง ถ้ามีค่าสูง (กว่ามาตรฐาน) แสดงว่าสินค้ามีการหมุนเวียนมาก แสดงว่ายอดขายสูงขึ้น และการที่ยอดขายสูงขึ้นทำให้สินค้าคงคลังลดน้อยลง หาก inventory turnover สูง องค์กรควรจะวางแผนรองรับการเจริญเติบโต โดยการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อผู้บริโภค หากองค์กรไม่มีการวางแผนสินค้าจะไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย จะทำให้เสียโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์กร
ถ้า inventory turnover ต่ำ แสดงว่ายอดขายขององค์กรลดลง สินค้าคงเหลือจะมากขึ้น จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า ต้นทุนสินค้าเสียหาย ต้นทุนสินค้าล้าสมัย ต้นทุนสินค้าสูญหาย ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำไรขององค์กรลดลง จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ยอดขายลดลง
2.2 Days Sales Outstanding ระยะเวลาการเก็บหนี้
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดเก็บหนี้ หรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเงินสดขององค์กร
หาก days sales outstanding มีค่าสูงขึ้นแสดงว่าระยะเวลาจัดเก็บหนี้จะนานมากขึ้น ทำให้องค์กรมีเงินสดน้อยลง ไม่สามารถเปลี่ยนลูกหนี้ให้เป็นเงินสดได้ จะทำให้เกิดหนี้สูญได้ง่าย
2.3 Fixed Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวร
การใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อให้เกิดยอดขาย ถ้าอัตราส่วน fixed assets turnover ต่ำ แสดงว่าองค์กรยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร อาจมีสินทรัพย์ถาวรเกินความต้องการ อาจมีที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์มากเกินไป หรือเครื่องจักรอาจล้าสมัย จึงทำให้สินทรัพย์ถาวรมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดยอดขายที่ต่ำลงและไม่สามารถสร้างยอดขายได้
ถ้า fixed assets turnover สูง แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรที่ดี มีการจัดสินทรัพย์ถาวรที่เหมาะสม มีสิน มีสินทรัพย์ถาวรในจำนวนที่เหมาะสมกับกิจการ สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้
2.4 Total Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย
ถ้า total assets turnover มีค่าสูงแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ และถ้า total assets turnover มีค่าต่ำแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องแก้ไขในเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทัพย์ถาวรด้วย
Fixed Assets Turnover ใช้วิเคราะห์ร่วมกับ Total Assets Turnover ถ้า Fixed Assets Turnover ดีคือสูงขึ้นเลื่อย ๆ แต่ Total Assets Turnover ต่ำ แสดงว่าประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรได้ดี แต่ต้องไปแก้ไขที่สินทรัพย์หมุนเวียน

อัตราส่วนหนี้สิน (debt management ratios)

อัตราส่วนหนี้สิน (debt management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความสามารถในการก่อหนี้ ถ้าองค์กรที่มีหนี้มาก จะเป็นองค์กรที่มีความผูกพันธ์ทางการเงินจึงมีความเสี่ยงสูง

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ
3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน

อัตราส่วนกำไร (profitability ratios)

อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด

การจัดการการเงิน

มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงที่สุด ซึ่งมูลค่าของธุรกิจได้จากราคาหุ้นสามัญในตลาดและเงินปันผลที่สูงที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย
1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย

Trade off มี 5 ปัจจัย
1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน
2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก
3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน
4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก โอกาสที่จะทำก็มากตามไปด้วย
5. สภาพคล่อง องค์กรที่มีสภาพคล่องมาก ๆ ความเสี่ยงก็น้อย การมีสภาพคล่องมาก คือการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมาก แต่ตัวที่ก่อให้เกิดกำไรคือสินทรัพย์ถาวร ดังนั้น การที่มีสภาพคล่องมากหมายความว่าเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนมาก เหลือเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย ทำให้โอกาสที่จะทำกำไรน้อยตามไปด้วย

ความเสี่ยง (risk) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ความเสี่ยงที่มีระบบ (systematic) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรเหมือนกัน แต่ละองค์กรจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงไม่เท่ากัน เช่น ภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกระทบกับทุกบริษัท
2. ความเสี่ยงไม่มีระบบ (unsystematic risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับองค์กรแต่ละองค์กร เช่น ประสิทธิภาพของผู้บริหาร การประทวงของพนักงาน การฟ้องร้องคดี ดังนั้นความเสี่ยงที่ไม่มีระบบเป็นความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้โดยการกระจายการลงทุน
2.1 ความเสี่ยงทางการเงิน (อยู่ด้านขวาของงบดุล) เกิดจากการที่เรามีหนี้สิน องค์กรมีหนี้สินมากจะเป็นองค์กรที่มีภาระผูกพันทางการเงิน และเป็นองค์กรที่มีความเสี่ยงทางการเงิน เช่น มีหนี้สินมาก การกู้มาก สินค้าล้าสมัยทำให้ต้องกู้เงินมาลงทุนใหม่ คู่แข่งมากทำให้ต้องเร่งการผลิตมากต้องกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น การขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร
2.2 ความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ (business risk) (อยู่ด้านซ้ายของงบดุล)

การตัดสินใจหาเงินทุน

การตัดสินใจหาเงินทุน
1. แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- ข้อดีข้อเสียของการระดมเงินทุนระยะยาวจากเจ้าหนี้ (หุ้นกู้)
2. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นสามัญ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นบุริมสิทธิ
- ลักษณะและข้อดีข้อเสียของหลักทรัพย์แปลงสภาพ
3. ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจระดมเงินทุนระยะยาวจากส่วนของเจ้าของ
4. แนวคิดของต้นทุนเงินทุน
- ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก WACC
5. โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม : การกำหนดสัดส่วนของหนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน
6. ความเสี่ยงของกิจการ
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ : เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ
- ความเสี่ยงทางการเงิน : เกิดเพิ่มจากการตัดสินจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืม
7. การควบรวมกิจการ
- รูปแบบและลักษณะ
- มูลเหตุของการควบรวมกิจการ

ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน

ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน คือ
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงทางการเงิน
- ระยะเวลาครบกำหนด
- ภาวะผูกพัน
หลักการ ควรหาเงินทุนจากแหล่งใด ระหว่างเจ้าหนี้และส่วนของเจ้าของ ควรจัดหาเป็นเงินระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็นสัดส่วนเท่าใด จึงทำให้ต้นทุนของเงินทุนต่ำสุด โดยไม่เกิดความเสี่ยงทางการเงินมากเกินไป

การตัดสินใจลงทุน
1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด
- แนวคิดขาดดุล
- แนวคิดเกินดุล
- แนวคิดสมดุล
2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ
- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด
- การกำหนดจุดสั่งซื้อ
- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด
3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :
- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด
- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio
- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์ถาวร)
- การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หลังจากได้ประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องแล้ว
- วิธี NPV : มูลค่าปัจจุบันสุทธิ วิธี IRR : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
- ความเสี่ยงของโครงการ
1. ความเสี่ยงเอกเทศ : คำนึงเฉพาะตัวโครงการ
2. ความเสี่ยงของกิจการ : พิจารณาผลที่จะส่งถึงบริษัท แต่ถูกขจัดได้
3. ความเสี่ยงตลาด

การตัดสินใจลงทุน

1. การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม
1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงในการลงทุน
- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์
2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น
2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า
- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้
2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ

การจัดการการเงิน