การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งบทดลอง

งบทดลอง หมายถึง งบที่จัดทำขึ้นด้วยการนำยอดดุลในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ด้านเดบิต หรือเครดิตก็ตาม มาคำนวนหายอดคงเหลือทั้งสองด้าน เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องในการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่ ในวันใดวันหนึ่ง เช่น ทุกสิ้นเดือน ทุก 3 เดือน หรือเมื่อสิ้นงวดบัญชี
ประโยชน์ของงบทดลอง
1. ช่วยพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกทั้งทางด้านเดบิตและเครดิต จะต้องเท่ากันตามหลักบัญชีคู่
2. ช่วยในการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการบัญทึกบัญชีได้ง่าย
3. ช่วยในการทำงบการเงินของกิจการ เช่น งบกำไรขาดทุนและงบดุลได้สะดวกและถูกต้อง

การหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในงบทดลอง มีวิธีการดังนี้
       1. ตรวจสอบการบวกเลขของจำนวนเงินในช่องเดบิตและเครดิตในงบทดลองใหม่อีกครั้ง
       2. ตรวจสอบการเก็บยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทมาลงในงบทดลองนั้นถูกต้องหรือไม่
       3. ตรวจสอบการหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทต่างๆ ใหม่
       4. ตรวจสอบการผ่านรายการจากสมุดรายวันขั้นต้นมาลงในบัญชีแยกประเภท
       5. ตรวจสอบการบันทึกรายการในสมุดรายวันถูกต้องตามหลักบัญชีคู่หรือไม่
       6. ตรวจสอบเอกสารนการนำมาบันทึกบัญชีว่าได้นำตัวเลขมาบันทึกบัญชีถูกต้องหรือไม่

การจัดทำงบทดลอง

การจัดทำงบทดลอง

1.       เขียนชื่อกิจการที่จัดทำงบทดลองอยู่กลางกระดาษ
2.       เขียนคำว่า งบทดลองเพื่อจะบอกว่าสิ่งที่จะทำต่อไปนี้คืองบทดลอง
3.       เขียนวันที่ที่จัดทำงบทดลอง
4.    เขียนเลขที่บัญชีและชื่อบัญชีของบัญชีต่าง ๆ จากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป โดยการเรียงตามเลขที่บัญชีจากน้อยไปหามาก
5.    นำยอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปมาใส่ในช่องจำนวนเงินคือช่องเดบิตและช่องเครดิต โดยหากบัญชีใดมียอดคงเหลือทางด้านเดบิตก็ให้นำยอดคงเหลือนั้นใส่ในช่องเดบิต แต่หากบัญชีใดมียอดคงเหลือทางด้านเครดิตก็ให้นำยอดคงเหลือนั้นใส่ในช่องเครดิต โดยจะต้องคำนึงถึงธรรมชาติของบัญชีด้วย นั่นก็คือ
บัญชีหมวดสินทรัพย์               ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน  เดบิต
บัญชีหมวดหนี้สิน                   ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน  เครดิต
บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ     
- บัญชีทุน                       ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน  เครดิต
- บัญชีถอนใช้ส่วนตัว         ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน  เดบิต
บัญชีหมวดรายได้                  ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน  เครดิต
บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย               ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน  เดบิต
6.    รวมจำนวนเงินในช่องเดบิตและช่องเครดิต หากยอดรวมของ 2 ช่องนี้เท่ากัน เราเรียกว่างบทดลองลงตัว แสดงว่าการบันทึกบัญชีได้บันทึกอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีคู่ แต่ถ้าหากยอดรวมของ 2 ช่องนี้ไม่เท่ากัน เราเรียกว่างบทดลองไม่ลงตัว แสดงว่าการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตามหลักการบัญชีคู่ ให้หาข้อผิดพลาดและทำการแก้ไข ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อต่อไป แต่ในตอนนี้จะขอแสดงตัวอย่างการจัดทำงบทดลองให้เห็นเสียก่อน

ตัวอย่างที่ 1

            จากตัวอย่างที่ 1 “บำรุงกลการหลังจากที่ได้ผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไปไปสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และหายอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ด้วยดินสอดำแล้ว เราสามารถจัดทำงบทดลองของ บำกลณ วันที่ 31 มกราคม 2555 ได้ดังนี้

บงกล
งบทดลอง
วันที่ 31 มกราคม 2555
เลขที่บัญชี
ชื่อบัญชี
เดบิต
เครดิต
11
เงินสด
156,250
-


12
เงินฝากธนาคาร
25,000
-


13
ลูกหนี้
35,000
-


15
อุปกรณ์ซ่อม
250,000
-


31
ทุน-นายบำรุง


400,000
-
41
รายได้ค่าซ่อม


80,000
-
51
เงินเดือนและค่าแรง
6,000
-


52
ค่าเช่า
5,000
-


53
ค่าโฆษณา
2,000
-


54
ค่าสาธารณูปโภค
750
-




480,000
-
480,000
-
























ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)

การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน มีหลายรูปแบบได้แก่

ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตรหรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้

ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร

ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าก็จะมีรายได้ ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ

ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิในหารออกกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนดนโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น

      ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเอง ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับ สักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึงเรื่องผลตอบแทนผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return

      Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงทีจะได้รับ โดยได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทนที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทประกาศไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 10 %ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 6 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 4 % เท่านั้น
 เงินสำหรับนำมาลงทุนได้มาจากแหล่งใด หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไรถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่องการเงินของตนอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่งเพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก

1.การรู้จักทำงบประมาณ (Using budgets) เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนด ก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้

2.การออมโดยวิธีบังคับ (Forced saving) ตามหลักของการจ่ายเงินเดือนซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าวไปให้สถาบันการเงินหรือบุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลหาผลประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เจ้าของผู้มีสิทธิได้รับเมื่อถึงเวลา เงินออมโดยโดยวิธีบังคับจึงเป็นเงินลงทุนทางหนึ่งของบุคคลเพียงแต่เขาไม่ได้เป็นผู้ลงทุนเองโดยตรงแต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้

3.การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง (Skip an expenditure) เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้

4.การประหยัดรายได้พิเศษ (Save the nonroutine incomes) บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายพิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่า ที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก

การลงทุน

การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

      การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment) การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า

      ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราลงทุนเป็นเจ้าของไว้โดยตรงได้อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments สำหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่ในประเภทของการลงทุนทางการเงิน เป็นส่วนใหญ่
การลงทุนทางการเงิน (Financial investments)
     หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงินโดยทั่วไปมักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน

วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล Dividend) กำ ไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง

การจัดการการเงิน