การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ธุรกิจลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ (Global Business Logistics)

ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจจำนวนมากได้เริ่มให้ความสนใจกับธุรกิจระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น บริษัทของสหรัฐฯ จำนวนมากที่พบว่า การประเมินการค้าของแหล่งผลิตในต่างประเทศ เป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งต่อองค์กรที่มีการดำเนินงานทางด้านลอจิสติกส์และการบริหารวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ โดยในตลาดส่งออกของประเทศกำลังพัฒนานั้นบริษัทของสหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความต้องการในด้านของประสิทธิภาพในระบบลอจิสติกส์และระบบเครือข่าย โดยพวกเขามองว่า กลยุทธ์ในด้านลอจิสติกส์ที่เป็นมาตรฐานและขบวนการจัดการ เป็นสิ่งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในส่วนของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความแตกต่างของสินค้าให้กับธุรกิจ

โดยทั่วไปแล้ว วิธีการที่จะพัฒนาระบบลอจิสติกส์ที่เป็นมาตรฐานนั้นมักจะกำหนดให้มีระดับของการประสานงานระหว่างกลุ่มลอจิสติกส์ การตลาด และการจัดซื้อในธุรกิจต่างๆ ให้อยู่ในระดับเดียวกันและเป็นระดับบริหารที่สูง

ซึ่งในประเด็นแรกนี้ เราจะพูดถึงธรรมชาติหรือลักษณะของธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน และระบบลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ เป็นเด็นที่สอง คือ แนวโน้วของระบบลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย ประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงระบบการขนส่ง กลยุทธ์ในการจัดจำหน่าย การจัดเก็บสินค้าและการหีบห่อ รวมถึงการแทรงแซงของภาครัฐ
ความเติบโตของการค้าโลกสามารถทำได้โดยการวางแผนทางด้านลอจิสติกส์ของบริษัททั่วโลก ประเทศต่างๆ เริ่มมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นอันเนื่องมาจากความสำเร็จในด้านลอจิสติกส์ การค้าระหว่างประเทศมีการเจริญเติบโตทั้งในด้านของปริมาณและมูลค่าทั้งในประเทศสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โลกเริ่มมีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเติบโตของกิจกรรมทางด้านลอจิสติกส์ ธุรกิจจะทำการผลิตในที่ตั้งที่มีความเป็นไปได้ในการผลิต และการขนส่งจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง โดยใช้ความเชี่ยวชาญในด้านลอจิสติกส์

การที่ธุรกิจได้โอนเรื่องการจัดการวัตถุดิบออกไปให้แก่ซัพพลายเออร์ในต่างประเทศนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบลอจิสติกส์ ซึ่งบริษัทมองว่า บริษัทจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า หากมีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า นอกจากนี้แนวโน้มของธุรกิจในปัจจุบันจะเป็นการโอนส่วนที่ธุรกิจไม่มีความชำนาญไปให้กับธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่มีความชำนาญกว่าเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้แทน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านต้นทุน โดยผ่านระบบลอจิสติกส์และลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบางบริษัทที่พยายามจะประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับการโอนส่วนที่ธุรกิจไม่มีความชำนาญไปให้ผู้ประกอบการอื่นดำเนินการกับแนวคิดในเรื่องการจัดการเข้าด้วยกัน เป็นแนวคิดที่มีชื่อว่า “Focused manufacturing” ซึ่งแนวคิดนี้จะมองด้านกลยุทธ์ในการวางระบบของโรงงานในการทำหน้าที่เสมือนซัพพลายเออร์ของการผลิตหรือสายการผลิตนั่นเอง

ทัศนคติและค่านิยม

ทัศนคติ (Attitudes) เป็นการประเมินความพอใจ หรือไม่พอใจของบุคคล ความรู้สึกด้านอารมณ์ หรือแนวโน้วการปฏิบัติที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือความคิดในความคิดหนึ่ง (Boone and Kurtz. 1999 : G –1) ทัศนคติประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนของความรู้สึก (Affective) ส่วนของความเข้าใจ (Cognitive) และส่วนของพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งของ ประเด็นปัญหาหรือบุคคล (Zikmund/d’ and Amico. 2001 : 644)

ค่านิยม (Values) เป็นอำนาจของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะจูงใจให้เกิดการแลกเปลี่ยน (Zikmund / d’ and Amico. 2001 : 659) หรือเป็นการรับรู้ของลูกค้าโดยเปรียบเทียบความสมดุลระหว่างคุณภาพของสินค้า หรือบริการซึ่งธุรกิจจะต้องจัดให้และราคาสินค้านั้น (Boone and Kurtz. 1999 : G – 11)

กิจกรรมทางด้านการตลาด (Marketing activities) หลังจากยุคของ Aristotle การค้าขายในบางประเทศได้รับการต่อต้านจากสังคม เพราะถือว่าเป็นการทำบาป ในประเทศเหล่านี้จะไม่ให้ความสนใจกับการพัฒนากิจกรรมทางด้านการตลาดเลย แต่ในบางประเทศการค้ากลับได้รับความสนใจเป็นอย่างดี เช่น เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส เป็นต้น

ความมั่งคั่ง (Wealth) วัตถุนิยม (Material) ผลประโยชน์ (Gain) และการซื้อกิจการ (Acquisition) ในประเทศสหรัฐอเมริกาถูกมองว่าเป็นสังคมที่มั่งคั่ง (Affluent society) เป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับจากสังคม แต่ในสังคมของผู้นับถือศาสนาพุทธหรือฮินดู การนิพพานเป็นสิ่งปรารถนาสูงสุดจึงอาจทำให้คนไม่มีแรงจูงใจในการผลิตและการบริโภค อย่างไรก็ตามผลของการปฏิรูปทำให้การคาดหวังได้เกิดขึ้นทั่วโลก ความแตกต่างของแต่ละประเทศเกี่ยวกับทัศนคติต่อการครอบครองกิจการจะเริ่มลดลง

การเปลี่ยนแปลง (Change) เมื่อบริษัทเข้าสู่ตลาดต่างประเทศจะมีการปรับเพื่อหาหนทางการดำเนินการแบบใหม่ตลอดจนการผลิตสินค้าใหม่

ความเสี่ยง (Risk taking) เมื่อผู้บริโภคยอมรับสินค้าใหม่เท่ากับเป็นการยอมรับความเสี่ยง ในสังคมที่เป็นแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative society) นั้นจะมีความไม่เต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้สินค้าใหม่ นั่นคือ การยอมรับสินค้าใหม่ๆ จะเป็นไปได้ยาก ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องหาหนทางในการลดความเสี่ยง เช่น การให้ผู้บริโภคทดลองใช้สินค้า การใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนนั้นๆ เป็นต้น

พฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer behavior) เป็นกิจกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก (Selecting) การซื้อ (Purchasing) และการใช้ (Using) ผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการและความพอใจของผู้บริโภค (Zikmund/d’ and Amico. 2001 : 726)

สุนทรียภาพ (Aesthetics)

สุนทรียภาพ (Aesthetics) จะสะท้อนถึงความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง รสนิยมและความงดงาม ซึ่งอาจแสดงออกในรูปแบบของ ศิลป เพลง ละคร การเต้นรำ การรับรู้สี ตลอดจนความสวยงามที่มีคุณค่า

การออกแบบ (Design) สุนทรียภาพของวัฒนธรรมอาจจะไม่มีผลกระทบที่สำคัญต่อกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแต่จะมีผลต่อธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น การออกแบบโรงงาน สินค้า ตลอดจนบรรจุภัณฑ์

สี (Color) นักการตลาดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ความหมายและความสำคัญของสีในแต่ละวัฒนธรรมเพื่อนำมาวางแผนการผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา สำหรับในด้านการตลาด การเลือกใช้สีควรเลือกใช้ให้ตรงกับสุนทรียภาพในวัฒนธรรมผู้ซื้อมากกว่าวัฒนธรรมของนักการตลาด โดยทั่วไปถือว่าสีที่ปรากฏอยู่ในธงธรรมชาติของชาติต่างๆ จะเป็นสีที่สามารถใช้ได้

เพลง (Music) ความเข้าใจถึงความแตกต่างเป็นสิ่งสำคัญของการคิดข้อความโฆษณาในเรื่องของการใช้ดนตรีหรือเพลง เพลงเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ต้องใช้ความรู้ แต่เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ในการโฆษณาจะใช้เพลงเป็นสื่อที่สำคัญ เนื่องจากง่ายในการสื่อสารซึ่งกันและกัน วิธีการที่ดีที่สุดในโลกในการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้คือ การนำเพลงพื้นเมืองของประเทศนั้นๆ มาใช้ ตัวอย่างเช่น บริษัท Pepsi ใช้ Michael Jackson หรือ Tena Turner เป็นพรีเซ็นเตอร์ในการโฆษณาเป๊ปซี่ในหลายประเทศรวมทั้งในญี่ปุ่นและรัสเซีย

ตราสินค้า (Brand names) การเลือกใช้ตราสินค้าเป็นสิ่งที่แสดงถึงสุนทรียภาพได้เช่นกัน บ่อยครั้งที่สินค้าที่ดีที่สุดใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นชื่อตราสินค้าเพื่อให้เข้ากับรสนิยมของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น บริษัท Proctor & Gamble ใช้ตราสินค้ามากกว่า 20 ชนิด สำหรับขายผงซักฟอกในตลาดต่างประเทศ เป็นต้น

ภาษา

ภาษา (Language) เป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดที่สุดในเรื่องวัฒนธรรมภาษาจะสะท้อนถึงธรรมชาติและค่านิยมของวัฒนธรรมนั้น ภาษาจะเกี่ยวข้องอย่างมากในการสื่อสารการตลาด (Marketing communication) เช่น การโฆษณา (Advertising) และการประชาสัมพันธ์ [Public Relations (PR)] ตลอดจนการกำหนดชื่อตราสินค้า (Branding) และการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

ภาษาเป็นเครื่องสะท้อนถึงวัฒนธรรม (Language as a cultural mirror) ภาษาที่ใช้ในประเทศเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่จะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้น ดังนั้นการทำงานในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาของประเทศนั้น เพราะการเรียนรู้ภาษาคือการเรียนรู้วัฒนธรรม จำนวนของภาษาที่ใช้ในประเทศก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะในความเป็นจริงภาษาหนึ่งจะสะท้อนถึงวัฒนธรรมหนึ่ง ดังนั้น ถ้าในประเทศมีภาษาที่ใช้หลายภาษาก็หมายความว่า ประเทศนั้นมีหลายวัฒนธรรม

การกระจายทางด้านภาษาและสังคม (Diversity : Linguistic and social) ความแตกต่างของภาษาภายในชาติก่อให้เกิดปัญหาภาษาท้องถิ่น (Tribal languages) ไม่ใช่ภาษาเขียนแต่เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างคนในเผ่าจะใช้ภาษาแบบผสม (Lingua franca) ซึ่งเป็นภาษาเขียน ความแตกต่างของภาษาภายในประเทศจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านสังคมและปัญหาทางด้านการสื่อสาร

ภาษานำไปสู่ปัญหา (Language as a problem) ในการโฆษณาตราสินค้า (Branding) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) การขายโดยใช้พนักงาน (Personal selling) และการทำวิจัยตลาดจะขึ้นอยู่กับการสื่อสารเป็นสำคัญ ถ้าฝ่ายบริหารไม่พูดภาษาเดียวกันกับผู้ฝังแล้วการเจรจามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จได้ยาก ในตลาดต่างประเทศแต่ละแห่งบริษัทจะต้องติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ มากมาย เช่น คนงาน ลูกค้า ผู้จัดการ เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือแม้กระทั่งรัฐบาล ดังนั้นการพูดได้มากกว่า 1 ภาษา จะก่อให้เกิดความได้เปรียบในการทำการตลาด
วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง กลุ่มของค่านิยมพื้นฐาน (Basic values) การรับรู้ (Perceptions) ความต้องการ (Wants) และพฤติกรรม (Behaviors) ซึ่งสมาชิกในสังคมได้เรียนรู้จากสถาบันครอบครัว และสถาบันที่สำคัญอื่น (Kotler and Armstrong. 2001 : G – 3)

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม (Cultural environment) ประกอบด้วยสถาบัน และอิทธิพลอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อค่านิยมพื้นฐาน (Basic values) การรับรู้ (Perceptions) ความพอใจ (Preferences) และพฤติกรรม (Behaviors) (Kotler and Armstrong. 2001 : G - 3)

องค์ประกอบของวัฒนธรรม (Elements of culture) ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 8 ประการ ได้แก่ (1) วัฒนธรรมด้านเทคโนโลยี (Technology culture) และวัฒนธรรมทางวัตถุ (Material culture) (2) ภาษา (Language) (3) สุนทรียภาพ (Aesthetics) (4) การศึกษา (Education) (5) ศาสนา (Religion) (6) ทัศนคติและค่านิยม (Attitudes and values) (7) องค์กรทางสังคม (Social organization) (8) บทบาททางการเมือง (Political life)

การวิเคราะห์วัฒนธรรมทางการตลาด (Cultural analysis in Marketing) หากศึกษาหนังสือทางด้านการตลาดจะพบว่า ในหนังสือทุกเล่มจะกล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเข้ามามีบทบาททางด้านการตลาด ดังนั้นผู้บริหารทางการตลาดจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาสิ่งต่อไปนี้ (1) กลุ่มอ้างอิง (Reference groups) (2) ชนชั้นทางสังคม (Social class) (3) ระบบการบริโภค (Consumption systems) (4) โครงสร้างของครอบครัว (Family structure) และการตัดสินใจ (Decision making) (5) การยอมรับการแพร่กระจาย (Adoption diffusion) (6) การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation) (7) พฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer behavior)



วัฒนธรรมทางด้านวัตถุ
วัฒนธรรมทางด้านวัตถุ (Material culture) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือและวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถมองเห็นและจับต้องได้ แต่ไม่รวมถึงสิ่งของทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ทั่วไปไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม แต่ต้นคริสต์มาสต์เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการทำและใช้สิ่งต่างๆ

คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานตลอดจนสภาพที่ทำงานในปัจจุบันให้สามารถทำงานที่ใดก็ได้

ช่องว่างทางด้านเทคโนโลยี (Technology gap) คือ ความแตกต่างระหว่างสังคมสองสังคมในการประดิษฐ์ (Create) ออกแบบ (Design) และการใช้สิ่งของต่างๆ (Use things)

วัฒนธรรมทางด้านเทคโนโลยี (Technology culture) และวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ (Material culture) จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่สังคมกำหนดเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ (Economic activities) โดยเทคโนโลยีและวัฒนธรรมทางด้านวัตถุจะเป็นตัวกำหนดวิธีการทำงานและประสิทธิภาพในการทำงาน

วัฒนธรรมทางวัตถุเป็นเสมือนข้อจำกัด (Material culture as a constraint) ก่อนที่จะตัดสินใจผลิตสินค้าในต่างประเทศ กิจการต้องมีการประเมินเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางวัตถุของประเทศที่เข้าไปลงทุน สิ่งหนึ่งที่จะต้องพิจารณาคือ ระบบสาธารณูปโภค

วัฒนธรรมทางวัตถุกับการตลาด (Material culture and marketing) นักการตลาดจำเป็นต้องเข้าใจถึงวัฒนธรรมทางวัตถุ (Material culture) ในตลาดต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น นักการตลาดอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์จากตารางปัจจัยการผลิต (Input – output tables) เพราะตารางนี้จะช่วยออกแบบและสร้างแนวคิดที่ดีกว่าว่า ควรจะผลิตสินค้าให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมทางวัตถุ (Material culture) และโครงสร้างอุตสาหกรรม (Industrial structure) ของประเทศนั้น ๆ ได้เท่าไร ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยจำแนกผู้บริโภคและพฤติกรรมการใช้

สภาพของเศรษฐกิจ (Nature of the economy)

สภาพของเศรษฐกิจ (Nature of the economy) นอกจากในเรื่องของขนาดและศักยภาพของตลาดแล้ว นักการตลาดควรให้ความสนใจในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ปัจจัยความสามารถทางกายภาพ (Physical endowment) ประกอบด้วย

1.1 ทัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ พลังงานน้ำ ที่ดิน ภูมิประเทศ และภูมิประเทศ เป็นต้น นักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องเข้าใจลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมทางด้านการตลาดของประเทศนั้นๆ

1.2 ภูมิประเทศ (Topography) เป็นลักษณะโดยทั่วไปของประเทศ ประกอบด้วย ที่ดิน แม่น้ำ ป่าทะเลทราย และภูเขา ดังนั้นนักการตลาดระหว่างประเทศจึงต้องทำการวิเคราะห์ภูมิประเทศ จำนวนประชากร และสภาพการขนส่ง เพื่อพยากรณ์ตลาดและปัญหาในการขนส่งสินค้า

1.3 ภูมิอากาศ (Climate) ประกอบด้วย ระดับอุณหภูมิ ลม ฝน หิมะ ความแห้งแล้ง และความชุ่มชื้น ภูมิอากาศเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเสนอสินค้าของบริษัท และจะมีผลต่อสินค้าอุปโภคและบริโภคตั้งแต่อาหารไป จนกระทั่งถึงเสื้อผ้า หรือตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงอุปกรณ์ทางด้านสันทนาการ (Recreational supplies) ตลอดจนความต้องการยาของประเทศในเขตร้อน (Tropics zone) จะแตกต่างจากประเทศในเขตอบอุ่น (Temperate zones)

2. สภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Nature of economic activity) ดังนี้

2.1 แนวคิดของ Rostow (Rostow’s view) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อว่า Rostow ได้แบ่งขั้นการพัฒนาเศรษฐกิจออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้

(1) ขั้นสังคมแบบดั้งเดิม (The traditional society) เป็นช่วงที่ยังเชื่อในเรื่องของประเพณี และวัฒนธรรมดั้งเดิม ดังนั้นสินค้าจึงเป็นสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่

(2) ขั้นการเตรียมพร้อมไปสู่การปฏิรูป (The preconditions for takeoff) เป็นสังคมที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตามยังคงเหลือประเพณีดั้งเดิมอยู่ ดังนั้นการเกษตรก็ยังคงมีอยู่แต่เป็นลักษณะของการเกษตรแปรรูป

(3) ขั้นปฏิรูป (The takeoff) เป็นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่น การปฏิวัติฝ้าย เป็นต้น

(4) ขั้นเติบโตเต็มที่ (The drive to maturity) เป็นช่วงที่ประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น เปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมเบา อาทิ ทอผ้าไปเป็นอุตสาหกรรมหนัก อาทิ เหล็ก น้ำมัน เป็นต้น

(5) ขั้นการบริโภคจำนวนมาก (The age of high mass consumption) ขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อประชากรในประเทศมีรายได้มากพอ รายได้จากอุตสาหกรรมหนักซึ่งจะมีราคาแพง ทำให้คนในประเทศมีการใช้สินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น เช่น การท่องเที่ยว การทำประกันสุขภาพ เป็นต้น

2.2 เกษตรหรืออุตสาหกรรม (Farm or factory) เป็นวิธีหนึ่งในการพิจารณาชนิดตลาดของประเทศ โดยจะมองที่จุดเริ่มต้นว่า ประเทศนั้นเป็นเศรษฐกิจแบบเกษตรหรืออุตสาหกรรม และดูจากลักษณะของสินค้าเกษตรหรืออุตสาหกรรม ตลอดจนลักษณะของสินค้าและบริการ

2.3 ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input – output tables) ถ้ากิจการสามารถสร้างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของอุตสาหกรรมสำหรับตลาดที่สำคัญและนำมาเปรียบเทียบกันจะทำให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของการได้แนวคิดที่ดีว่า จะใช้เครื่องมือและปัจจัยการผลิตอย่างไรให้เหมาะสมกับโครงสร้างอุตสาหกรรมในตลาดนั้นซึ่งใช้มากในตลาดอเมริกา ถึงแม้ว่าโครงสร้างจะแตกต่างกันแต่เทคนิคสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ เช่น บางประเทศเน้นปัจจัยแรงงานในการผลิตผ้า ขณะที่บางประเทศจะเน้นปัจจัยทุนในการผลิตผ้า เป็นต้น

3. สาธารณูปโภคของประเทศ (Infrastructure of the nation) อุตสาหกรรมแบ่งกิจกรรมที่สำคัญออกเป็น 2 ภาคคือ (1) การผลิต (Production) (2) การตลาด (Marketing) การดำเนินการขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนับสนุนการดำเนินการ ตลอดจนการบริการนอกกิจการซึ่งเรียกว่า สาธารณูปโภคในระบบเศรษฐกิจ (Infrastructure of an economy) ยิ่งมีบริการภายในประเทศมากเท่าใดก็ยิ่งจะทำให้บริษัทในประเทศสามารถดำเนินการผลิตและทำการตลาดได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

สาธารณูปโภคของประเทศ ประกอบด้วย (1) พลังงาน (Energy) (2) การขนส่ง (Transportation) (3) การติดต่อสื่อสาร (Communications) (4) สาธารณูปโภคที่ส่งเสริมทางด้านการค้า (Commercial infrastructure)

4. ความเป็นเมือง (Urbanization) ลักษณะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของระบบเศรษฐกิจคือ ระดับความเป็นเมือง (The degree of urbanization) เพราะประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ในเขตหมู่บ้าน หรือชนบทจะมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้จะสะท้อนถึงทัศนคติของบุคคลที่แตกต่างกันด้วย เช่น ในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากการสื่อสารและการคมนาคมที่สะดวกทำให้ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทจะลดลง

เกษตรกับเมือง (Farm versus city) มีเหตุผลมากมายสำหรับพฤติกรรมที่แตกต่างกันระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบท นักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมืองกับการบริโภคสินค้า

5. ลักษณะสำคัญอื่นๆ ของเศรษฐกิจต่างประเทศ (Other characteristics of foreign economic) ลักษณะสำคัญบางประการของเศรษฐกิจต่างประเทศซึ่งมีผลต่อการดำเนินการระหว่างประเทศมีอยู่ 3 ประการคือ

5.1 เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง สภาพทางเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและมูลค่าของเงินมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากอำนาจซื้อมีมากว่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้

5.2 บทบาทของรัฐบาล (Role of government) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและสภาพของการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจนั้น ถ้ารัฐบาลเป็นระบบสังคมนิยมจะมีการจำกัดภาคการผลิตที่เอกชนมีบทบาทค่อนข้างน้อย

5.3 การลงทุนต่างประเทศในระบบเศรษฐกิจ (Foreign investment in the economy) นักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องรู้ว่า สามารถดำเนินการในต่างประเทศได้อย่างไรบ้าง ข้อมูลจะเป็นตัวบอกถึงทัศนคติของรัฐบาลที่มีต่อบริษัท โดยนักการตลาดต้องตระหนักถึงแนวโน้วการลงทุนต่างประเทศว่า ในบางประเทศอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง
(1) อำนาจในการซื้อซึ่งไม่สะท้อนถึงค่าที่แท้จริง (Purchasing power not reflected) โดยปกติการเปรียบเทียบรายได้ต่อหัวของประชากรจะเปรียบเทียบในรูปของดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการเทียบอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งคำนวณได้โดยการนำรายได้ของประชากรต่อหัวหารด้วยสกุลเงินของประเทศเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ สถิติรายได้ของประชากรต่อหัวของประเทศในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจะถูกต้อง ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนถึงอำนาจการซื้อโดยเปรียบเทียบของ 2 สกุลเงิน

(2) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) คือ ค่าของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอีกสกุลหนึ่ง (อัตราแลกเปลี่ยนจะสะท้อนถึงสินค้าและบริการระหว่างประเทศของประเทศๆ หนึ่ง แต่ไม่ใช่การบริโภคภายในประเทศ)

(3) การขาดความสามารถในการเปรียบเทียบลักษณะด้านต่างๆ ของประเทศ (Lack of comparability) ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของการใช้รายได้ประชาชาติต่อหัวในแต่ละประเทศนั้นคือ ความไม่สามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบเนื่องจากเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการคือ (3.1) ในประเทศที่พัฒนาแล้วสินค้าในบัญชีรายได้ประชาชาติจะมีสัดส่วนมากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา (3.2) สินค้าจำนวนมากในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีรายการอยู่ในบัญชีประชาชาติของประเทศกำลังพัฒนา

(4) ยอดขายที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายได้ของประชากร (Sales not related to per capita income) ข้อจำกัดของการใช้รายได้ประชากรต่อหัวเป็นตัวชี้ศักยภาพของตลาด หมายความว่า ยอดขายสินค้าจำนวนมากมีความสำคัญกับรายได้ประชากรต่อหัวน้อยมาก แต่ยอดขายของสินค้าอุปโภคบริโภคจะมีความสัมพันธ์กับจำนวนประชากรและครัวเรือนมากกว่ารายได้ของประชากรต่อหัว

(5) ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ (Uneven income distribution) รายได้ประชากรต่อหัวจะไม่มีประโยชน์ถ้ามีความแตกต่างในการกระจายรายได้ของประเทศนั้นอย่างชัดเจน

3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้อต้น [Gross National Product (GNP)] หมายถึง มูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นใหม่ด้วยปัจจัยการผลิตที่ถือกรรมสิทธิ์ โดยพลเมืองของประเทศนั้นภายในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคือ 1 ปี

(International Marketing)

สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ :เศรษฐกิจในต่างประเทศ

ขนาดของตลาด
ขนาดของตลาด (Size of the market) หมายถึง ปริมาณการเสนอซื้อของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งนักการตลาดระหว่างประเทศต้องทราบถึงขนาดของตลาดทั้งตลาดในปัจจุบันและตลาดในอนาคต เพื่อจะช่วยจัดสรรความเหมาะสมสำหรับตลาดในปัจจุบันและตัดสินว่าควรจะเข้าไปดำเนินการในตลาดใดต่อไป โดยทั่วไปดัชนีที่ใช้ วัดขนาดและแนวโน้มของตลาด มีดังนี้

1. ประชากร (Population) ขนาดของประชากรเป็นสิ่งชี้ขนาดของตลาดกล่าวคือ ถ้ากำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่แล้ว ประเทศมีขนาดของประชากรขนาดใหญ่ ขนาดของตลาดก็จะใหญ่ด้วย เพราะตลาดเป็นศูนย์รวมคนที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางการตลาด

1.1 อัตราการเจริญเติบโตของประชากร (Population growth rates) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรายได้ประชาชาติและรายได้ประชาชาติต่อหัว นักการตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องศึกษาถึงขนาดและแนวโน้มของประชากรในปัจจุบัน เนื่องจากการตัดสินใจทางด้านการตลาดหลายครั้งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาในอนาคต

1.2 การกระจายความหนาแน่นของประชากร (Distribution of population) ประชากรสามารถจำแนกออกตามลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ได้ดังนี้

(1) อายุ (Age) โดยทั่วไปคนที่มีอายุต่างกันจะมีความต้องการต่างกัน ทำให้เกิดโอกาสทางการตลาดต่างกัน โครงสร้าง (Profile) ด้านอายุสามารถแบ่งเป็นลักษณะที่สำคัญ 2 ประเภทดังนี้

(1.1) โครงสร้างการแบ่งแยกอายุของประเทศกำลังพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนาจะมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูง และโดยเฉลี่ยอายุของประชากรจะสั้น

(1.2) โครงสร้างการแบ่งแยกอายุของประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอายุเฉลี่ยของประชากรสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาเนื่องจากมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและสาธารณสุขภายในประเทศมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา

(2) ความหนาแน่นของประชากร (Density) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญกับนักการตลาดในการประเมินปัญหาเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการสื่อสารการตลาดต่างๆ ส่วนใหญ่นักการตลาดชอบที่จะดำเนินการในตลาดที่มีอัตราความหนาแน่นของประชากรสูง ดังนั้นอัตราเฉลี่ยของความหนาแน่นของประชากรในภูมิภาคจึงเป็นแนวทางในการพิจารณาความหนาแน่นของประชากรที่อาศัยอยู่ในแต่ละภูมิภาคนั้นได้เป็นอย่างดี

2. รายได้ (Income) สิ่งสำคัญในการพิจารณาเกี่ยวกับรายได้มี 3 ประการคือ

2.1 การกระจายรายได้ (Distribution of income) รายได้ของประชาชนต่อหัว (Per capita income) เป็นค่าเฉลี่ยและมีความหมาย นักการตลาดให้ความสนใจเกี่ยวกับระดับความแตกต่างของรายได้ ถ้าสินค้าของตนอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ หมายความว่า เมื่อรายได้เปลี่ยนความต้องการซื้อจะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด

2.2 รายได้ของประชากรต่อหัว (Per capita income) เป็นตัวที่แสดงถึงระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจของประเทศ โดยคำนวณจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหารด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านการนำเข้าได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้จากตัวเลขการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น [Gross domestic product (GDP)] ซึ่งเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) และเพิ่มขึ้นเป็น 6 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) 10 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) 9.4 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) และ 11.9 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) การส่งออก (Exports) และการนำเข้า (Imports) เมื่อเทียบสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น [Gross domestic product (GDP)] จะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันเหมือนกันทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก จึงทำให้เห็นถึงความสำคัญของการพึ่งพากันในธุรกิจระหว่างประเทศมากขึ้น

บริษัทของสหรัฐอเมริกาในตลาดโลก (The U.S. firm in the Global Marketplace) การไม่ให้ความสนใจต่อตลาดต่างประเทศและคู่แข่งจากตลาดต่างประเทศจะทำให้เกิดผลเสียต่อบริษัทของอเมริกา 2 ประการ คือ (1) การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ (2) การไม่ได้รับผลกำไรจากการเติบโตในตลาดต่างประเทศ

ความสำคัญของการลงทุนตรงจากต่างประเทศ [Importance of Foreign Direct Investment (FDI)] มีดังนี้
อุปสรรคทางการค้าในด้านแนวคิด (The trade barrier of the mind) ขณะที่ Kenneth Butterworth ประธานกรรมการบริษัท Loctite ได้กล่าวว่า ปัญหาเกี่ยวกับข้อกีดกันทางการค้าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากแนวความคิดเพราะบริษัทส่วนใหญ่มักจะพึ่งพาตลาดในประเทศมากเกินไป ตลอดจนมีโลกทัศน์ที่แคบทำให้กิจการในอเมริกาไม่แน่ใจที่จะเข้ายึดครองตลาดต่างประเทศ ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยที่คุกคามและเป็นอุปสรรคทางการค้า

จากการที่ดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาขาดดุลอย่างต่อเนื่องกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับการกระตุ้นทั้งในระดับรัฐบาลและจากส่วนกลางให้เน้นการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยหน่วยงานรัฐบาลจะช่วยเหลือในการออกค่าใช้จ่ายในการแสดงสินค้าโดยกรมการค้าและหน่วยงานอื่นๆ การช่วยเหลือทางด้านการเงินในการส่งเสริมการส่งออกเป็นไปได้ที่จะยืดการชำระเงินออกไปและเสนออัตราดอกเบี้ยที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ทำการส่งออก จำนวนชาวต่างชาติตลอดจนผู้อพยพทั้งหลายที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัทอเมริกาจะช่วยทำให้บริษัทในอเมริกาทราบถึงโอกาสในการทำการตลาดในต่างประเทศ ตลอดจนวิธีการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็จะหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ประสบความสำเร็จในตลาดดังกล่าว

การตลาดระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง คำว่า ตลาดโลก (Global marketing) เป็นตัวอธิบายว่า ทั่วโลกสามารถรวมตลาดทั่วโลกเป็นตลาดเดียวและถือว่าตลาดในแต่ละประเทศเป็นตลาดย่อย (Submarket)


การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ [Foreign Direct Investment (FDI)] คือ การลงทุนที่ผู้ลงทุนจากต่างประเทศมีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมกิจการ ซึ่งอาจกระทำโดย (1) การเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทผู้ผลิตเดิมในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (2) การเข้าไปตั้งบริษัทสาขาในประเทศที่เข้าไปลงทุน (3) การเข้าไปจัดตั้งบริษัทใหม่ในประเทศที่เข้าไปลงทุน

บริษัทต่างๆ สามารถสร้างยอดขายจากต่างประเทศโดยการส่งออกหรือขายสินค้าโดยตั้งสาขาในต่างประเทศเมื่อระยะเวลาผ่านไป การส่งออกมีแนวโน้วจะได้รับการทดแทนโดยยอดขายจากการตั้งสาขาในต่างประเทศโดยมีเหตุผลสำคัญ 4 ประการคือ (1) การขายสินค้าที่ทำให้ต่างประเทศจะถูกกว่าเพราะสามารถหลีกเลี่ยงในเรื่องของภาษีศุลกากรและต้นทุนค่าขนส่ง (2) การผลิตสินค้าในตลาดต่างประเทศจะรอดพ้นจากการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของรัฐบาล ตลอดจนการกีดกันทางด้านการค้า (3) สินค้าและบริการสามารถปรับให้เข้ากับรสนิยมในตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น (4) สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะสินค้าจะผลิตและขายในเงินสกุลเดียวกัน
การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ (Social and managerial process) ซึ่งบุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่สนองความจำเป็นและความต้องการของเขาจากการสร้าง (Creation) และการแลกเปลี่ยน (Exchanging) สินค้าและคุณค่ากับบุคคลอื่น (Kotler and Armstorng. 2001 : G – 6)

กิจกรรมทางด้านการตลาด (Marketing activities) ที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ (1) การศึกษาลูกค้าผู้ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Prospective buyers) (2) การกำหนดส่วนประสมการตลาด (Marketing mix) ซึ่งประกอบด้วย (2.1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Develop the products or services) (2.2) การกำหนดราคาและเงื่อนไข การชำระเงิน (Set prices and terms) (2.3) การจัดจำหน่าย (Distribution หรือ Place) (3) การใช้การสื่อสารทางการตลาด (Marketing communication) หรือการส่งเสริมการตลาด (Promotion)

การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (Terpstra and Sarathy. 2000 : 12)

รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) การค้นหาความต้องการของลูกค้าระดับโลก (2) การตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก (3) การทำให้มีคุณภาพและมีกลุยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (4) การประสมประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด (5) การตระหนักถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก

การจัดการตลาดระหว่างประเทศ (International marketing management) เป็นการวิเคราะห์ (Analysis) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) และการควบคุม (Control) โปรแกรมในการออกแบบ (Designed) การสร้างสรรค์ (Create) การสร้าง (Build) และการเก็บรักษา (Maintain) เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศที่เป็นเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ สามารถพิจารณาทางด้านสภาพแวดล้อมได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การแข่งขันในระดับโลก (Global competition) โดยคู่แข่งขันที่มาจากทั่วโลกจะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน (2) สภาพแวดล้อมระดับโลก (Global environment) จะเกี่ยวข้องกับความหลากหลายในปัจจุบันทางด้านรัฐบาล วัฒนธรรมและระดับรายได้

นอกจากนี้การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing management) ต้องใช้ผู้บริหารด้านการตลาดที่มีขีดความสามารถมากกว่าการตลาดภายในประเทศ (Domestic marketing) ซึ่งสิ่งที่ผู้บริหารด้านการตลาดให้ความสำคัญมากที่สุด 6 ประการ มีดังนี้ (1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (Developing new products) (2) การพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้จัดจำหน่าย ตลอดจนผู้ซื้อ (Developing relationships with suppliers, distributors, even customers) (3) การมีคู่แข่งขันระดับโลกน้อยรายแต่มีความแข็งแกร่งมาก (Fewer but stronger global competitors) (4) มีแรงกระตุ้นให้มีการแข่งขันด้านราคา (Enhanced price competition) (5) การรวมตัวกันในระดับภูมิภาค และมีกฎระเบียบของรัฐบาลมากขึ้น (Greater regional integration and government regulations) (6) การพัฒนาวัฒนธรรมทางการตลาด (Developing a marketing culture)

แหล่งของผู้ซื้อ (Where the buyer are) ในบางครั้งตลาดต่างประเทศอาจจะเป็นเพียงตลาดเดียวที่สามารถขายสินค้าของบริษัทได้ เช่น การทำน้ำจืด (เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำจืด) ประมาณ 2 ใน 3 ของบริษัททำน้ำจืดเกิดขึ้นในประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น

แหล่งของแนวความคิด (Where the ideas are) ตลาดต่างประเทศสามารถเป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ได้ เช่น นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอเมริกาและยุโรปได้ผลักดันปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นโดยใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทำให้มลภาวะลดลงและเพื่อชดเชยการนำเข้าของน้ำมันด้วย

การจัดการการเงิน