การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตราสารหนี้ (Debt Instruments)

ตราสารหนี้ (Debt Instruments) หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือ สัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของตราสารหนี้ ได้แก่
  1. ตราสารหนี้ภาครัฐ
  2. ได้แก่
    พันธบัตรรัฐบาล (government bond)
    พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state-owned enterprise bond)
    พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
    พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
    ตั๋วเงินคลัง (treasury bill)
    ตราสารหนี้ภาครัฐ มีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ แต่ตราสาร หนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก ส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้ ยกเว้นแต่กรณีของตั๋วเงินคลัง ซึ่งรัฐบาลออกเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้น (ไม่เกิน 180 วัน) หรือเพื่อดูดซับเงินสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น
  3. ตราสารหนี้ภาคเอกชน




ได้แก่
  1. หุ้นกู้ (Debenture)
  2. มีลักษณะและคุณสมบัติตามสถานะของการเป็นเจ้าหนี้
    • หุ้นกู้มีประกัน (secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือสถาบันการเงิน) หรือมีการวางหลักทรัพย์ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น
    • หุ้นกู้ไม่มีประกัน (non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอดหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน
    • หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่น แต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน
    • หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (subordinated debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ เป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อยสิทธิ นั่นคือ ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด

  3. ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange)

คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข

  • ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note)
  • คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่า จะใช้เงินจำนวนที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้ในวันที่กำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ (non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็สามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้

  • บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Certificate of Deposit)
  • คือ ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคาร สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง หากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว

    ตราสารทุน (Equity Instruments)

    ตราสารทุน (Equity Instruments) หมายถึง ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารทุนได้แก่
    1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
    2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
    3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น
    4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
    5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหน
    1. ดอกเบี้ยรับ (Interest Received) ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำ ตามจำนวนเงินที่คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) บนตราสารหนี้ และตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล มีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ร้อยละ 7 จ่ายดอกเบี้ยทุกหกเดือน หมายความว่า ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 3.50 บาท ในเดือนมิถุนายน และธันวาคม ของทุกปี เป็นต้น และงวดสุดท้ายจะได้รับดอกเบี้ยพร้อมการชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน
    2. ส่วนลดรับ (Discount Earned)
    3. ในกรณีของตราสารหนี้ประเภท zero coupon bond ผู้ลงทุนสามารถซื้อตราสารหนี้ในราคาซื้อลด หรือในมูลค่าที่ต่ำกว่าจำนวนเงินหน้าตั๋ว (face value) ที่ระบุไว้ว่าจะใช้คืนในวันกำหนดชำระ ตัวอย่างเช่น
      ตราสารหนี้ประเภท Zero coupon bond ที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ จำนวนเงินที่จะชำระคืน 1,000 บาท กำหนดชำระคืนในปีที่ 5 นับจากวันลงทุน จำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนในอัตราผลตอบแทนจนถึงวันครบกำหนด (Yield to maturity) ที่ 7% ต่อปี ราคาซื้อของตราสารหนี้ประเภท Zero coupon bond จะคำนวณได้เท่ากับ 708.91 บาท
      ส่วนลดรับ จะเท่ากับ 1,000 - 708.91 = 291.09 บาท

      ส่วนลดรับ จึงเท่ากับ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคารับชำระคืนเมื่อครบกำหนดนั่นเอง

    4. กำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain)
    ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง และมีผลให้อัตราผลตอบแทนในการลงทุน ( current yield) ที่มีผู้ประสงค์ซื้อจะลดลงด้วย ราคาซื้อขายของตราสารหนี้ที่มี coupon rate ที่ตราไว้ในอัตราสูงกว่า current yield จะขยับตัวสูงขึ้น และเป็นที่มาของกำไรส่วนเกินทุน

    การวิเคราะห์งบการเงิน

    ข้อมูลงบการเงินที่ดี ต้องมีการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อรายงานต่อผู้ถือหุ้น หรือ ให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบในการตัดสินใจ ซึ่งงบการเงินที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
    – แสดงรายการในงบการเงินอย่างครบถ้วนเพียงพอ ถูกต้อง เชื่อถือได้
    – ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง บิดเบือนความจริง ในสาระสำคัญ ที่ทำให้ผู้อ่าน หรือ ผู้ใช้งบ เข้าใจผิด และ เกิดความเสียหาย ต่อกิจการ และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง
    – สามารถเปรียบเทียบได้กับงวดเดียวกันของปีก่อน หรือ กิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจคล้ายกัน
    การนำงบการเงินไปใช้ประโยชน์
    งบการเงินเป็นข้อมูลที่แสดงถึงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง รวมทั้งแสดงผลการดำเนินงานของกิจการ ในปีนั้นๆ ซึ่งผู้ถือหุ้น หรือ นักลงทุน สามารถอ่านงบการเงิน เพื่อประเมินความสามารถในการลงทุน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้ง ยังสามารถนำตัวเลขจากงบการเงิน มาวิเคราะห์หาอัตราส่วนทางการเงิน Ratio Analysis ซึ่ง การวิเคราะห์งบการเงิน ratio สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน สภาพของกิจการ ได้อย่างถูกต้อง และ เปรียบเทียบกับ กิจการเดียวกัน ในช่วงเวลาที่ต่างกัน หรือ ช่วงเวลาเดียวกัน กับ กิจการที่ต่างกัน เป็นต้น
    นอกจากการนำตัวเลขจากงบการเงินไปใช้วิเคราะห์แล้ว สิ่งที่ผู้ลงทุน หรือ ผู้ใช้งบควรให้ความสำคัญ ก็คือ ข้อมูลรายงานของผู้สอบบัญชี และ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วย เนื่องจาก นโยบายการบัญชี ที่แต่ละกิจการเลือกใช้ มีผลทำให้งบการเงินมีความแตกต่างกันได้ ซึ่งมาตรฐานการบัญชี ได้กำหนดให้ทุกกิจการเปิดเผยนโยบายการบัญชีไว้ที่หมายเหตุประกอบงบการเงินทุกครั้ง เพื่อความโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ อีกทั้ง ควรพิจารณา ข้อมูล ความเห็นของผู้สอบบัญชี ซึ่งอาจจะชี้ให้เห็นความผิดปกติของงบการเงินในกิจการได้อีกทางหนึ่ง
    วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

    Profit and loss Statement or Income Statement

    งบกำไรขาดทุน (Profit and loss Statement or Income Statement)
            งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี สามเดือน หรือ หนึ่งเดือน โดยกำไรสุทธิเท่ากับรายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย โดยรายได้แสดงถึงมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่บริษัทให้ในขณะที่ค่าใช้จ่ายแสดงถึงความพยายามที่ใช้เพื่อทำให้เกิดรายได้
    1 หลักการบัญชีเกี่ยวกับ รายได้ และค่าใช้จ่าย
            รายได้ สำหรับคนทั่วไป รายได้หมายถึงจำนวนที่บริษัทได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ แต่ความหมายในทางบัญชีจะกว้างกว่านั้นกล่าวคือ รายได้ หมายถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของการได้รับหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ดังนั้น ในความหมายของการบัญชีรายได้ อาจเกิดมาจากการขายสินค้าหรือบริการการที่สินทรัพย์ที่บริษัทถือไว้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือจากการที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ในการปรับโครงสร้างหนี้
             ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีจากการจ่ายหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ดังนั้น ในความหมายของการบัญชี ค่าใช้จ่าย จึงไม่ใช่มีเพียงต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเท่านั้น แต่รวมถึงผลขาดทุนจากการที่สินทรัพย์หรือสินค้าที่บริษัทถือไว้มีมูลค่าลดลง หรือขาดทุนจากไฟไหม้ด้วย
             การรับรู้รายได้ หลักการบัญชีกำหนดให้บริษัทรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อบริษัทได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน และเมื่อบริษัทสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ รวมทั้งต้องมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเกิดรายการนั้นขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สุทธิจากการขายสินค้าหรือบริการ และการลดลงของหนี้สินเนื่องจากเจ้าหนี้ยกหนี้ให้ โดยทั่วไปในการขายสินค้าหรือบริการ เงื่อนไขในการรับรู้รายได้จะครบถ้วนเมื่อบริษัทได้มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าแล้ว บริษัทส่วนใหญ่จึงรับรู้รายได้เมื่อมีการส่งมอบสินค้าหรือบริการแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการส่งมอบสินค้าหรือบริการแล้วแต่ถ้ายังไม่แน่นอนว่าจะเก็บเงินได้ บริษัทจะต้องไม่รับรู้รายได้เมื่อมีการส่งมอบ
    แต่จะรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน
             การรับรู้ค่าใช้จ่า ย ตามหลักการบัญชี บริษัทควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของบริษัทลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และบริษัทสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ค่าใช้จ่ายให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยใช้เกณฑ์ความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่ได้มาจากรายการเดียวกัน นั่นคือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวพันโดยตรงกับรายได้จะต้องรับรู้ไว้ในงวดเดียวกับงวดที่มีการรับรู้รายได้ ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่าย
            ในการรับประกันสินค้า เมื่อบริษัทคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายจ่ายที่เกิดขึ้นในหลายรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทจะรับรู้รายจ่ายนั้นเป็นสินทรัพย์ และกระจายมูลค่าของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามสัดส่วนของประโยชน์ที่ได้รับในงวดนั้นๆ ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์
            สำนักงาน ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตัดบัญชีสำหรับรายจ่ายที่มีประโยชน์เฉพาะงวดบัญชีนั้น ก็จะถือเป็นค่าใช้จ่าย
            ของงวดนั้นทันที ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ เงินเดือนของพนักงานฝ่ายขายและบริหาร ค่าสาธารณูปโภคของสำนักงาน นอกจากนี้ ถ้ามีรายจ่ายเกิดขึ้นแต่มีความไม่แน่นอนถึงประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคต บริษัทต้องรับรู้รายจ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายจ่ายนั้นทันที ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการวิจัย__
    2. รูปแบบและการจำแนกรายการในงบกำไรขาดทุน
            เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน การบัญชี กำหนดให้งบกำไรขาดทุนต้องแสดงหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ กำไรจากการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง กำไร/ขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงาน รายการพิเศษ
             กำไรขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่อง เป็นการแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมที่บริษัทคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ถ้าบริษัทมีความตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงานในส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งจะต้องแยกแสดง กำไร หรือ
    ขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงานออกจากการดำเนินงานที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป
             กำไรหรือขาดทุนพิเศษ เกิดจากเหตุการณ์ซึ่ง (1) ไม่เป็นปกติเมื่อเทียบกับกิจกรรมทั่วไปของบริษัท (2) ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ และ (3) มีจำนวน ที่เป็นสาระสำคัญบริษัทจะต้องแยกแสดงรายการนี้ออกจากการดำเนินงาน ตามปกติเช่นกันผลการดำเนินงานของบริษัทสามารถจะแสดงได้หลายวิธี ดังนั้นรูปแบบของงบกำไรขาดทุนจึงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนรวมทั้งการจัดลำดับของบัญชีต่าง ๆ ด้วย รายการที่มักปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน ได้แก่
             รายได้หรือขาย แสดงถึงรายได้ที่มาจากการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทโดยทั่วไปแล้วคือการขายสินค้าและบริการทั้งหมดที่ขายให้กับลูกค้า รายได้ประเภทนี้จะแสดงด้วยมูลค่าหรือราคาขายก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ
             รายได้อื่น เป็นรายได้ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท รายได้ประเภทนี้มักจะแสดงด้วยจำนวนที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับสุทธิจากต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากการขายสินทรัพย์
             ค่าใช้จ่าย คือ รายการที่หักออกจากรายได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ค่าใช้จ่ายที่ได้กล่าวไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ต้นทุนสินค้าที่ขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร เป็นต้น
             ต้นทุนขาย แสดงต้นทุนของสินค้าที่ซื้อมา หรือต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือต้นทุนค่าบริการ ซึ่งต้นทุนเหล่านี้จะเกี่ยวพันโดยตรงกับรายได้
             ค่าเสื่อมราคา เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งบางครั้งก็รวมไว้ในต้นทุนขาย แต่ บางครั้งก็แยกแสดงต่างหาก สำหรับผู้ผลิตสินค้าค่าเสื่อมราคาจะรวมอยู่ในต้นทุนขาย เพราะว่าสินทรัพย์ถาวรโดยเฉพาะโรงงาน และเครื่องจักร ส่วนมากจะใช้สำหรับการ ผลิตสินค้า ดังนั้นค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นจากโรงงาน และเครื่องจักรจึงถือเป็นต้นทุน ขายโดยตรงแต่สำหรับผู้ค้าปลีกและผู้ให้บริการจะรวมค่าเสื่อมราคาไว้ในค่าใช้จ่าย ในการขายและบริหารมากกว่าในต้นทุนขาย
             ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร จะครอบคลุมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า เช่น เงินเดือนพนักงานขาย ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าวัสดุสำนักงาน เป็นต้น
             กำไรขั้นต้น คือ ผลต่างระหว่างรายได้จากการขายกับต้นทุนขายของสินค้าหรือบริการ เป็นการวัดความสำเร็จของบริษัทในการรักษาส่วนต่าง ระหว่างรายได้กับต้นทุนการผลิต และ/หรือ ต้นทุนการซื้อสินค้าหรือบริการ
             กำไรก่อนภาษี สะท้อนถึงกำไรของบริษัทหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน บวกรายได้อื่น และหักรายจ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทแล้ว สำหรับบริษัท ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
             กำไรก่อนรายการพิเศษ (หากมีบัญชีรายการพิเศษ) แสดงผลกระทบของภาษีที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรปกติ
             กำไรสุทธิ คือ รายได้ส่วนที่มากกว่าค่าใช้จ่าย ถ้าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ส่วนที่มากกว่าดังกล่าวจะเรียกว่า ขาดทุนสุทธิ
       งบกำไรขาดทุน หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่กำหนดแต่จะต้องไม่เกิน 1 ปี เพื่อวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลานั้นเท่าใด และเมื่อนำรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายแล้ว จะเป็นกำไรสุทธิ(Net Income หรือ Net Profit) หรือขาดทุนสุทธิ (Net Loss)
             งบกำไรขาดทุน คือ งบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็น 3 เดือน หรือ 6 เดือน ประกอบด้วย
    1. รายได้ หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการได้รับมาจากการประกอบกิจกรรม
    2. ค่าใช้จ่าย หมายถึง มูลค่าต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการขายสินค้า
    3. กำไรสุทธิ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่เกินกว่าต้นทุนขาย
    4. ขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่ต่ำกว่าต้นทุนขาย
    เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
    รายได้-ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
             งบกระแสเงินสด หมายถึง งบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดของกิจการ โดยบอกถึงที่มาและที่ไปของกระแสเงินสด ประกอบด้วย
             1.กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ เงินสดรับจ่ายจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการ โดยไม่สนใจรายได้ที่ยังไม่ได้รับเงินและค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้จ่ายเงิน
             2.กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน คือ กระแสเงินสดรับจ่ายจริงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของธุรกิจในส่วนของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เงินลงทุน หากมีการลงทุนเพิ่ม เช่น ซื้อเครื่องจักร แสดงว่ามีการใช้ไปของเงินสด ในทางตรงข้าม หากมีการขายสินทรัพย์ออกไป จะถือว่าเป็นแหล่งได้มาของเงินสด
             3.กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน คือ กระแสเงินสดรับจ่ายจริงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในแหล่งที่มาของเงินทุน ทั้งที่เป็นการกู้ยืมระยะสั้น และระยะยาว
    การวิเคราะห์งบการเงินที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์
    รูปแบบการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อใช้ตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์
             1.การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน เป็นการนำรายการต่าง ๆ ในงบดุลและงบกำไรขาดทุนมาหาอัตราส่วนระหว่างกัน แล้วทำให้เกิดความหมายผลลัพธ์ที่ได้เรียกว่า อัตราส่วนทางการเงิน
             2.การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน เป็นการวิเคราะห์ที่นำรายการในงบดุลและกำไรขาดทุนมานำเสนอในรูปร้อยละ หรือที่เรียกว่าอัตราส่วนตามแนวดิ่ง
             3.การวิเคราะห์การเติบโตหรือแนวโน้ม เป็นกาวิเคราะห์โดยการนำข้อมูลในงบดุลและงบกำไรขาดทุน ตั้งแต่สองปีขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน
             4.การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เราสามารถดูการเคลื่อนไหวของรายการเงินสด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสดในกิจกรรมต่างๆ สำหรับช่วงเวลาหนึ่ง

    การจัดการการเงิน