การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์ระดับองค์กร

กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate – Level Strategies ) คือ การกำหนดขอบเขตและ
แนวทางเดินขององค์กรในระยะยาวเพื่อที่จะสร้างกำไรสูงสุด กลยุทธ์ที่ใช้ในระดับองค์กรมี 3
ลักษณะ คือ
1. กลยุทธ์การมุ่งเน้นในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง (Concentration on a Single Business)
2. กลยุทธ์การรวมตัวในแนวตั้ง (Vertical Integration)
3. กลยุทธ์การกระจายธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่น (Diversification)


กลยุทธ์ระดับองค์กรสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
1. กลยุทธ์การมุ่งเน้นไปในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง (Concentration on a Single Business)
บ่อยครั้งที่หลายองค์กรไม่มีการแตกกระจายหรือข้ามไปสู่ธุรกิจอื่นเลย แต่กลับมีแนวทางหรือ
ขอบเขตในระยะยาวกับธุรกิจเดียว ข้อดีที่ชัดเจนของกลยุทธ์นี้ก็คือสามารถทุ่มเทและจัดสรร
ทรัพยากรให้กับธุรกิจเพียงธุรกิจเดียว ก่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะเรื่อง อย่างไรก็ตามการเลือกใช้
กลยุทธ์นี้ก็มีข้อเสียเช่นกัน เพราะความเสี่ยงย่อมสูงเป็นเรื่องปกติ ถ้ามีเหตุการณ์ใดมากระทบ
เฉพาะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ ก็จะส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อองค์กรที่มีรายได้มาจากธุรกิจ
นั้นๆ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังเสียโอกาสการทำกำไรจากธุรกิจอื่นที่มีโอกาสในช่วงเวลา
เดียวกัน


2. กลยุทธ์การรวมตัวในแนวตั้ง (Vertical Integration) กลยุทธ์นี้เป็นการเพิ่มการเป็น เจ้าของทั้งในส่วนที่เป็นต้นน้ำ (Upstream) และส่วนที่เป็นปลายน้ำ (Downstream) หรืออธิบายง่ายๆว่าองค์กรจะเป็นเจ้าของธุรกิจตั้งแต่วัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูปในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

การรวมตัวในแนวตั้งมีข้อดี คือ องค์กรสามารถควบคุมคุณค่าของแต่ละช่วงการผลิตได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถป้องกันคู่แข่งรายใหม่ในการเข้าสู่ตลาดโดยง่าย ข้อเสียคือแต่ละช่วงการผลิตอาจประสบปัญหาจากการไม่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งรายใดเลย เพราะผลิตป้อนให้กับบริษัทในเครือ ทำให้ประสิทธิภาพลดลงและต้นทุนสูงในบางช่วงของห่วงโซ่การผลิตฉะนั้นจึงเป็นภาระของบริษัทในการจัดสรรทรัพยากรมาดูแล
3. กลยุทธ์การกระจายธุรกิจ (Diversification) การกระจายธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การกระจายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม (Related Diversification) ตัวอย่างเช่น ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ากระจายไปสู่ธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และการกระจายไปสู่ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม (Unrelated Diversification) ตัวอย่างเช่น ธุรกิจจำหน่ายอาหารสัตว์กระจายไปสู่ธุรกิจร้านหนังสือ ข้อดีของการกระจายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมคือ การเกิดพลังเสริม (Synergy) เช่น สามารถใช้จุดขายร่วมกัน ใช้ระบบขนส่งร่วมกัน หรือใช้ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน สำหรับการกระจายไปสู่ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้อง ข้อดีก็คือ การลดความเสี่ยงจากการไม่ผูกติดกับธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งอาจประสบภาวะธุรกิจตกต่ำพร้อมๆ กัน
การกระจายธุรกิจส่งผลลบต่อองค์กรได้เช่นเดียวกัน เพราะอาจกระจายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่ไม่มีความชำนาญ ส่งผลทางลบต่อภาพรวมของทั้งองค์กร จนต้องตัดสินใจขายหรือเลิกลงทุนในธุรกิจใหม่ เหตุการณ์เช่นนี้จะพบมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับบริษัทใหญ่ๆที่ขยายตัวผ่านการกระจายธุรกิจ

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Pretty! This was an extremely wonderful post. Many thanks for
supplying this info.

Here is my web page ... Natural Cleanse

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

We stumbled over here coming from a different page
and thought I might as well check things out. I like
what I see so now i'm following you. Look forward to going over your web page repeatedly.

Here is my blog - Xength X1 Free Trial

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Saved as a favorite, I really like your site!


Feel free to surf to my web-site :: is raspberry ketone safe

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

I constantly emailed this website post page to all my
associates, since if like to read it next my friends will too.


my webpage :: Buy authentic green coffee

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน