การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

“การจัดการเชิงกลยุทธ์” (Strategic Management)

“การจัดการเชิงกลยุทธ์” (Strategic Management) เป็นวิธีการจัดการแบบหนึ่งที่มุ่งเน้น
􀂉 การกำหนดทิศทาง ภารกิจ และกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์การให้ชัดเจน และ
สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพการณ์ภายใน
ขององค์การ
􀂉 การดำเนินการพัฒนาปรับปรุงส่วนต่างๆ ขององค์การให้สามารถนำกลยุทธ์ที่กำหนด
ไว้ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
􀂉 และการติดตามกำกับ ควบคุม และประเมินผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ เพื่อเรียนรู้
ผลความก้าวหน้า ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป
ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้
1.
องค์การและส่วนต่างๆ ขององค์การสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้
ดีขึ้น
2. การจัดสรรสรรพกำลังและทรัพยากรในองค์การเป็นไปในทิศทางและลำดับความสำคัญ
ที่ชัดเจน มีเหตุมีผล และมีความสอดคล้องกันในระหว่างส่วนย่อยต่างๆ ขององค์การ
3. การปรับตัว หรือการขยายตัวขององค์การเป็นไปโดยมีกรอบทิศทางที่แน่ชัด
4. เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้ตระหนักถึงโอกาส ภัยคุกคาม
จุดแข็ง และจุดอ่อนขององค์การ ตลอดจนได้ทราบถึงทิศทางการดำเนินงานโดยทั่วกัน
5. การจัดการเชิงกลยุทธ์อาจช่วยเปิดโอกาสให้มีการบูรณาการความคิด การใช้ทรัพยากร
และการดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์การในทิศทางเดียวกัน และเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับ
โอกาสและภัยคุกคามในสภาพแวดล้อม
กระบวนการในการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การจัดวางกลยุทธ์ (Strategy Formulation) หรือ การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic
Planning)
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา
ในแง่ต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด
ลูกค้า คู่แข่ง ผู้สนับสนุนวัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ
1.2 การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ
ด้านการตลาด การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ
ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
1.3 การกำหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่า
• องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
• มีหน้าที่บริการอะไร แก่ใครบ้าง
• โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดำเนินการเช่นใด
1.4 การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
1.5 การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ
2. การนำกลยุทธ์ไปสู่ปฏิบัติ (Strategic Implementation)
2.1 การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
2.2 การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการ
2.3 การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้าง ระบบงาน ทรัพยากรบุคคล
วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ
3. การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control and Evaluation)
3.1 การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
3.2 การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทำให้ต้อง
มีการปรับแผนกลยุทธ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน