การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง กลไกที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ ผลิตไปถึงมือของผู้บริโภคหลักเกณฑ์ของ ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องพิจารณา มีดังนี้

สถานที่ตั้ง จะพิจารณาเกี่ยวกับจะขายสินค้า ณ ที่ใดถ้าสถานที่ได้ปรียบจะมีโอกาสมากกว่าคู่แข่งสถานที่ตั้งต้องคำนึงถึงการกระจายเชิงกายภาพ จะตั้งโรงงานที่ใด ตั้งร้านค้าที่ใด ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการขนส่ง ตัวอย่าง โรงงานทำสับปะรดกระป๋อง ควรอยู่ใกล้ไร่สัปปะรด เพราะวัตถุดิบเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ในขณะเดียวกันถ้าวัตถุดิบไม่เน่าเสีย และมีน้ำหนักเบา เราก็อาจจะตั้งโรงงานอยู่ใกล้กับตลาดเพื่อขนส่งได้รวดเร็ว สถานที่ตั้งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่ตั้งของร้านค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายความรวมไปถึงสถานที่ตั้งของโรงงาน ของสำนักงาน คลังเก็บสินค้า

ช่องทางการจัดจำหน่าย การจัดจำหน่ายจะผ่านใครบ้าง เช่น อาจจะส่งตรงไปยังร้านค้าหรือบางครั้งไม่สามารถที่จะจัดส่งโดยตรงได้อาจจะต้องผ่านผู้ค้า ส่งแล้วจากผู้ค้าส่งไปยังร้านค้าย่อย ในฐานะที่กิจการเป็นผู้ผลิตไม่ชำนาญเรื่องการตลาด ก็ตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งจะทำการตลาดและกระจายสินค้าเข้าสู่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ต้องพิจารณาว่ากิจการต้องการที่จะผ่านคนกลางมากน้อยแค่ไหน ข้อเสียของการผ่านคนกลางก็คือทุกครั้งที่ผ่านจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขี้น ข้อดีก็คือคนกลางจะอำนวยความสะดวกให้สินค้าต่าง ๆ ไหลลื่นไปได้อย่างสะดวกเพราะมีความชำนาญในการดำเนินงาน

ประเภทชนิดของช่องทาง การเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจะต้องพิจารณา ถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร ฤติกรรมในการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อเงินสดหรือเครดิตต้องจัดส่งหรือไม่ ซื้อบ่อยแค่ไหนละการพิจารณาที่ตั้งของลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีร้านค้าสะดวกซื้อ ร้ายขายสินค้าลดราคา ร้านสหกรณ์ ร้านขายของชำ ขายทางไปรษณีย์ ขายทางแคตตาล็อก ใช้พนักงานขาย) ฯลฯจะตั้งเกณฑ์แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับช่องทาง (Outlet) ว่าแบบใดที่จะเหมาะสมต้องพิจารณาว่าอย่ากระจายสินค้ามากเกิน ไปจนทำให้ควบคุมไม่ได้ขณะเดียวกันก็ควรระวังว่าช่องทางจะ น้อยเกินไปจนโอกาสการขายต่ำลงการโฆษณาก็จะสูญเปล่า จะต้องพิจารณาว่าจะใช้ช่องทางประเภทใด ในระดับการกระจายความเสี่ยงขนาดใด การพิจารณาจะใช้จำนวนคนกลางในระดับใดระดับหนึ่งมีทางเลือก ดังนี้
- การจำหน่ายอย่างทั่วถึง กระจายไปอย่างกว้างขวางพยายามครอบคลุมตลาดทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าสะดวกซื้อ เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ กระจายได้มากจะทำให้ขายสินค้าได้มาก
- การจำหน่ายแบบเลือกสรร โดยเลือกร้านที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์และลูกค้า ที่สามารถควบคุมดูแลได้ การให้บริการ การบำรุงรักษา หรือการบริการหลังการขาย เหมาะสำหรับสินค้าเลือกซื้อ (Shopping goods) ซึ่งหมายถึงสินค้าที่ผู้บริโภคมักจะดูหลาย ๆ ยี่ห้อหลาย ๆ แบบเปรียบเทียบกันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
- การจำหน่ายแบบเจาะจง คือร้านเฉพาะตัวของกิจการ สินค้าจะเป็นประเภทเจาะจงซื้อ (Special goods) หรือเลือกซื้อ (Shopping goods) สินค้าพวกนี้ลูกค้าจะซื้อด้วยการเจาะจงหรือมีความจงรักภักดีต่อ ตราสินค้าสูงเมื่อลูกค้าเจาะจงซื้อที่ตราสินค้ากิจการก็ไม่จำเป็น ต้องกระจายออกไปให้กว้างมาก

วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling)

ในการทำงานประจำวัน มีหลายครั้งที่เราต้องใช้การสุ่มตัวอย่างข้อมูล เพื่อนำไปทำอะไรสักอย่าง เช่น การสุ่มตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเราต้องตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้ว คงต้องใช้เวลาเป็นวันๆ โดยไม่ได้ทำอย่างอื่นแน่ๆดังนั้น การที่เรารู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบต่างๆนั้น จะทำให้เราสามารถสุ่มตัวอย่างได้อย่างมีหลักการ และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น โดยในที่นี้จะขอพูดถึง การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ซึ่งประกอบด้วย1. วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยเปิดโอกาสให้หน่วยย่อยของประชากรทุกหน่วยมีสิทธิ์ได้รับการเลือกเท่า ๆ กัน อาจมีบัญชีรายชื่อของประชากรทุกหน่วยแล้วทำการจับสลากหรือใช้ตารางเลขสุ่ม (Random number table) หรือใช้คอมพิวเตอร์สร้างเลขสุ่มจนได้กลุ่มตัวอย่างประชากรครบตามต้องการ2. วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แบบสุ่มเป็นช่วง ๆ โดยดำเนินการดังนี้
•กำหนดหมายเลขประจำหน่วยตามบัญชีรายชื่อของประชากร (Sampling frame) •คำนวณช่วงของการสุ่ม (n/N)•ทำการสุ่มหาตัวสุ่มเริ่มต้น (Random start) •นับหน่วยของตัวอย่างนับไปตามช่วงของการสุ่ม (Random interval) เช่น ต้องการสุ่มนักเรียน 200 คน จากนักเรียนทั้งหมด 1,000 คน ดังนั้นจึงสุ่มทุก ๆ 5 คน เอามา 1 คน สมมติเมื่อสุ่มผู้ที่ตกเป็นตัวอย่างประชากรคนแรกได้หมายเลข 003 คนที่สองที่ตกเป็นตัวอย่างได้แก่หมายเลข 008 สำหรับคนที่สามและคนต่อ ๆ ไป จะได้หมายเลข 013 , 018 , 023 , … , 998 รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 200 คน เป็นต้น

3. วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบจัดประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น (Stratum) การแบ่งประชากรเป็นพวกหรือชั้น ยึดหลักให้มีลักษณะภายในคล้ายกันหรือเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous) มากที่สุด แต่จะแตกต่างกันระหว่างชั้นมากที่สุด จากนั้นจึงทำการสุ่มจากแต่ละชั้นขึ้นมาทำการศึกษา โดยใช้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่สุ่มขึ้นมาเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม4. วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบที่ประชากรอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ (Cluster) โดยแต่ละกลุ่มมีลักษณะภายในกลุ่มที่หลากหลายหรือมีความแตกต่างในทำนองเดียวกันแต่ระหว่างกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มเกษตรในหมู่บ้าน กลุ่มนักเรียนในห้องเรียน เป็นต้น จำนวนของกลุ่มต่าง ๆ จะถูกสุ่มขึ้นมาทำการศึกษา เมื่อสุ่มได้กลุ่มใดก็จะนำสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ ทั้งหมดมาทำการศึกษา เช่น การศึกษาเกี่ยวกับครัวเรือนในประเทศไทย เราอาจแบ่งครัวเรือนออกเป็นกลุ่มโดยใช้ตำบลเป็นหลัก แล้วทำการสุ่มตำบล เมื่อสุ่มตำบลแล้ว ก็ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกครัวเรือนที่อยู่ในตำบลที่สุ่มได้นั้น ๆ เป็นต้น5. วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรโดยแบ่งประชากรออกเป็นลำดับชั้นต่าง ๆ แบบลดหลั่น เช่น ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นต้น โดยทำการสุ่มประชากรจากหน่วยหรือสำดับชั้นที่ใหญ่ก่อน จากหน่วยที่สุ่มได้ก็ทำการสุ่มหน่วยที่มีลำดับใหญ่รองลงไปทีละชั้น ๆ จนถึงกลุ่ม
ตัวอย่างในชั้นที่ต้องการ การสุ่มแบบนี้จึงมีลักษณะการกระจายเป็นร่างแหที่ขยายออกไปเรื่อย ๆ จนถึงหน่วยที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล

ประสิทธิภาพ (Efficiency)

ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ เป็นการวัดสมรรถนะในการใช้ทรัพยากรของกระบวนการ ว่าในการทำงานให้เสร็จชิ้นหนึ่ง ๆ ต้องใช้ทรัพยากรการผลิต ไปเท่าใด (Are we do it rightly)


Efficiency แปลเป็นภาษาไทยว่า ‘ประสิทธิภาพ’ ใช้สำหรับแสดงความสามารถในการแปรรูป บางคนบอกว่า มันคือความสามารถเชิงทฤษฎี หรือความสามารถทางวิศวกรรม กล่าวคือ เป็นตัวแสดง ‘ความสามารถในการแปรรูปทรัพยากรที่ใช้ ไปเป็นผลผลิตปลายทาง’


การมี Efficiency ที่สูง แสดงถึงกระบวนการมีการใช้ทรัพยากรในการผลิตงานหรือให้บริการอย่างคุ้มค่า

ในทางตรงกันข้าม การมี Efficiency ที่ต่ำ แสดงถึงกระบวนการมีการใช้ทรัพยากรในการผลิตงานหรือให้บริการไม่คุ้มค่า ซึ่งเกิดจากมี “ความสูญเสีย (Wastes)” เกิดขึ้นอยู่ในกระบวนการ

ประสิทธิภาพ (Efficiency) แบ่งเป็น 2 ประเภท


1) ประสิทธิภาพในมุมมองปัจจัยนำเข้า (Input efficiency)

คำนวณในรูปของ สัดส่วน (Ratio) ระหว่าง Output และ Input เพื่อให้สะท้อนภาพของผลผลิตงานหรือให้บริการ ต่อหน่วยทรัพยากรที่ใช้

ตัวอย่าง ในเดือนที่ผ่านมา หน่วยงานฝึกอบรมซึ่งมีเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจำนวน 5 คน สามารถจัดการอบรมที่มีผู้เข้าอบรมรวม 200 คน

Efficiency = Output/Input

= 200/5

กล่าวคือ ในเดือนนี้ หน่วยงานฝึกอบรมจัดการอบรมได้มูลค่าประสิทธิภาพที่ 40 ซึ่งในเดือนถัดๆไป สามารถคำนวณค่าในลักษณะเดียวกันนี้ เพื่อใช้ในการ monitor ประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมได้

2) ประสิทธิภาพในมุมมองผลลัพธ์ (Output efficiency)
คำนวณในรูปของ อัตราส่วนหรือร้อยละ ของจำนวนหน่วยที่ผลิต/ให้บริการจริง ต่ออัตราการให้บริการมาตรฐานภายในช่วงเวลาหนึ่ง

ตัวอย่าง ฝ่ายบริการลูกค้าของโรงแรม ได้กำหนดค่ามาตรฐานของอัตราการให้บริการลูกค้าไว้ 100 คนต่อชั่วโมง แต่ในเวลา 8 ชั่วโมงทำงาน ทีมงานบริการสามารถให้บริการลูกค้าได้จริง 780 คน

ค่ามาตรฐานของอัตราการให้บริการลูกค้า คือ 100 คน/ชั่วโมง

แต่ในช่วง 8 ชั่วโมง ทีมงานบริการลูกค้าได้จริง 780 คน
ดังนั้น ค่าประสิทธิภาพ คือ (780/800) x 100 = 97.5%

(Visited 11,736 times, 1,126 visits today)

ประเภทของนวัตกรรม

นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ เป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กรหรือแม้แต่ตัวเราเอง
นวัตกรรมในขบวนการผลิตหรือการดำเนินงาน (Process Innovation)
เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการผลิตสินค้าหรือการให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม
นวัตกรรมทางธุรกิจ (Business Innovation) นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จและ ยั่งยืนได้ ธุรกิจต้องค้นหา "นวัตกรรมธุรกิจ" ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมมิใช่เพียงแค่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ แต่ต้องเป็น ความคิดใหม่ๆที่สามารถขายได้ หรือ การทำให้ความคิดใหม่ๆ มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ แหล่งที่สำคัญที่สุดของการเกิดนวัตกรรม อยู่ที่ "ลูกค้าหรือตลาดการแข่งขัน" เพราะจะแสดงถึงความต้องการของผู้บริโภค ความมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คู่แข่งนำหน้าเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เราจะสร้างอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทย โดย
1. ต้องมีความก้าวหน้าในองค์ความรู้และเทคโนโลยี ในลักษณะ "วัฒนธรรมการเรียนแบบรับรู้" ซึ่งในต่างประเทศมีการพัฒนาต่อยอดความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง จากการสร้างพื้นฐานมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาและธุรกิจเอกชนที่เป็นบริษัทระดับโลก
2. การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของธุรกิจ แยกเป็น
2.1 นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือความรู้ใหม่เพื่อผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาสู่ตลาด
2.2 นวัตกรรมกระบวนการทางธุรกิจ ที่สามารถใส่หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความแตกต่างเหนือคู่แข่งขัน
2.3 นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ คือการที่ธุรกิจมุ่งสนใจในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการมาอย่างยาวนาน จึงเกิดความคิดใหม่ที่จะแสวงหานวัตกรรมใหม่ทางธุรกิจ เช่นนวัตกรรมการตลาด นวัตกรรมการจัดการ เพราะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมประเด็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
3. การเพิ่มอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ๆ โดย
3.1 เร่งการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ จากทุกแห่งทั่วทุกที่จากทุกมุมโลก
3.2 ธุรกิจคงต้องทบทวนความคิดใหม่ว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นั้น เป็นการศึกษาและเรียนรู้แบบ"วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการรับรู้" ไม่ใช่ "วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการผลิตภาพ หรือการเรียนรู้แบบนวัตกรรมและผลิตภาพ"
3.3 ธุรกิจต้องเรียนรู้และเข้าใจทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการและนวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้การเป็นองค์กรแบบใหม่ที่เรียกว่า "องค์กรนวัตกรรมและผลิตภาพ" จะทำให้ธุรกิจเป็น "ธุรกิจแห่งนวัตกรรม" ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน (ที่มา: คัดลอกมาจาก คิดไทยสไตล์โมเดิร์น ของ คุณดนัย เทียนพุฒ นสพ.บิซวีส)
นวัตกรรมจากการวิจัย (Research Innovation)
แหล่งข้อมูลนวัตกรรม (Resource Innovation)

อนึ่งทุกองค์กรต้องมี คน ที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนธุรกิจทั้งสิ้นซึ่งองค์กรจะมีคุณภาพได้นั้นต้องมีการจัดสรรจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงานซึ่งต้องวางแผนกำลังคนให้เหมาะสม การคัดสรรพนักงานที่มีความสามารถและเหมาะสมกับงาน ต่อเนื่องไปยังขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นต้องมีการเพิ่มศักยภาพบุคลากรโดยการฝึกอบรมและพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ และหลังจาการทำงานร่วมกันแล้ว ยังต้องคำนึงถึงบุคลากรที่กำลังจะเกษียณด้วยซึ่งอาจจะมีการให้บำเหน็จ เงินทดแทน เงินสำรองเลี้ยงชีพหรือผลตอบแทนประเภทต่างๆ เพื่อจูงใจให้พนักงานมีเป้าหมายในการทำงานรวมถึงระดับความก้าวหน้าของสายงาน เป็นต้น

องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม

นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม" หรือจะกล่าวง่ายๆ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์


ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จาก แนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมาก ก็น่าจะเป็น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 1962


ทั้งนี้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปีแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950 บรรดานักวิชาการต่างมองว่า นวัตกรรมเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้ นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผลลัพธ์ของการดำเนินงานของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นผลของกระบวนการ (process) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem-solving process) ที่เกิดในองค์กร หรือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interactive process) ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีบทบาทสำคัญอื่นๆ มีได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ หรือ กระบวนการเรียนรู้แบบแปรผัน (diversified learning process) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัจจัยแตกต่างกัน เช่น การเรียนรู้โดยการใช้ (learning by using) การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (learning by doing) การเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน (learning by sharing) ซึ่งมีได้ทั้งองค์ความรู้ภายในและภายนอกองค์กร ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูดซับความรู้ขององค์กร

การจัดการการเงิน