การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง กลไกที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ ผลิตไปถึงมือของผู้บริโภคหลักเกณฑ์ของ ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องพิจารณา มีดังนี้

สถานที่ตั้ง จะพิจารณาเกี่ยวกับจะขายสินค้า ณ ที่ใดถ้าสถานที่ได้ปรียบจะมีโอกาสมากกว่าคู่แข่งสถานที่ตั้งต้องคำนึงถึงการกระจายเชิงกายภาพ จะตั้งโรงงานที่ใด ตั้งร้านค้าที่ใด ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการขนส่ง ตัวอย่าง โรงงานทำสับปะรดกระป๋อง ควรอยู่ใกล้ไร่สัปปะรด เพราะวัตถุดิบเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ในขณะเดียวกันถ้าวัตถุดิบไม่เน่าเสีย และมีน้ำหนักเบา เราก็อาจจะตั้งโรงงานอยู่ใกล้กับตลาดเพื่อขนส่งได้รวดเร็ว สถานที่ตั้งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่ตั้งของร้านค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายความรวมไปถึงสถานที่ตั้งของโรงงาน ของสำนักงาน คลังเก็บสินค้า

ช่องทางการจัดจำหน่าย การจัดจำหน่ายจะผ่านใครบ้าง เช่น อาจจะส่งตรงไปยังร้านค้าหรือบางครั้งไม่สามารถที่จะจัดส่งโดยตรงได้อาจจะต้องผ่านผู้ค้า ส่งแล้วจากผู้ค้าส่งไปยังร้านค้าย่อย ในฐานะที่กิจการเป็นผู้ผลิตไม่ชำนาญเรื่องการตลาด ก็ตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งจะทำการตลาดและกระจายสินค้าเข้าสู่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ต้องพิจารณาว่ากิจการต้องการที่จะผ่านคนกลางมากน้อยแค่ไหน ข้อเสียของการผ่านคนกลางก็คือทุกครั้งที่ผ่านจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขี้น ข้อดีก็คือคนกลางจะอำนวยความสะดวกให้สินค้าต่าง ๆ ไหลลื่นไปได้อย่างสะดวกเพราะมีความชำนาญในการดำเนินงาน

ประเภทชนิดของช่องทาง การเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจะต้องพิจารณา ถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร ฤติกรรมในการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อเงินสดหรือเครดิตต้องจัดส่งหรือไม่ ซื้อบ่อยแค่ไหนละการพิจารณาที่ตั้งของลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีร้านค้าสะดวกซื้อ ร้ายขายสินค้าลดราคา ร้านสหกรณ์ ร้านขายของชำ ขายทางไปรษณีย์ ขายทางแคตตาล็อก ใช้พนักงานขาย) ฯลฯจะตั้งเกณฑ์แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับช่องทาง (Outlet) ว่าแบบใดที่จะเหมาะสมต้องพิจารณาว่าอย่ากระจายสินค้ามากเกิน ไปจนทำให้ควบคุมไม่ได้ขณะเดียวกันก็ควรระวังว่าช่องทางจะ น้อยเกินไปจนโอกาสการขายต่ำลงการโฆษณาก็จะสูญเปล่า จะต้องพิจารณาว่าจะใช้ช่องทางประเภทใด ในระดับการกระจายความเสี่ยงขนาดใด การพิจารณาจะใช้จำนวนคนกลางในระดับใดระดับหนึ่งมีทางเลือก ดังนี้
- การจำหน่ายอย่างทั่วถึง กระจายไปอย่างกว้างขวางพยายามครอบคลุมตลาดทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าสะดวกซื้อ เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ กระจายได้มากจะทำให้ขายสินค้าได้มาก
- การจำหน่ายแบบเลือกสรร โดยเลือกร้านที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์และลูกค้า ที่สามารถควบคุมดูแลได้ การให้บริการ การบำรุงรักษา หรือการบริการหลังการขาย เหมาะสำหรับสินค้าเลือกซื้อ (Shopping goods) ซึ่งหมายถึงสินค้าที่ผู้บริโภคมักจะดูหลาย ๆ ยี่ห้อหลาย ๆ แบบเปรียบเทียบกันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
- การจำหน่ายแบบเจาะจง คือร้านเฉพาะตัวของกิจการ สินค้าจะเป็นประเภทเจาะจงซื้อ (Special goods) หรือเลือกซื้อ (Shopping goods) สินค้าพวกนี้ลูกค้าจะซื้อด้วยการเจาะจงหรือมีความจงรักภักดีต่อ ตราสินค้าสูงเมื่อลูกค้าเจาะจงซื้อที่ตราสินค้ากิจการก็ไม่จำเป็น ต้องกระจายออกไปให้กว้างมาก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน