การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมทางการ ด้านการเคลื่อนไหว (Movement) เช่น การวิ่ง การกระโดด การเดิน การขับรถ การเต้นรำ การเปิดประตู เป็นต้น โดยฮาร์โรได้แบ่งระดับของจุดมุ่งหมาย ทางด้านทักษะ โดยเรียงจาก ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด 6 ระดับ ดังนี้ระดับพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย มีรายละเอียดในแต่ละระดับ ดังต่อไปนี้
1. การเคลื่อนไหวเชิงกิริยาสะท้อนกลับ (Reflex movements) ซึ่งได้แก่
1.1 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลังส่วนหนึ่ง (Segmental reflexes) เช่น การเคลื่อนไหวของแขนหรือขา เป็นต้น
1.2 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลัง มากกว่าหนึ่งส่วน (Intersegmental reflexes) เช่น การเคลื่อนไหวของแขน และขาในเวลาเดินหรือวิ่ง เป็นต้น
1.3 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลัง และ สมองร่วมกัน (Segmental Reflexes) เช่น การทรงตัวของร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ สมดุล ในขณะเคลื่อนไหว เป็นต้น
2. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน (Basic - fundamental Movements) ซึ่งได้แก่
2.1 การเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง (Locomotor Movements) เช่น เดิน วิ่ง กระโดด เป็นต้น
2.2 การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (Non - locomotor Movements) เช่น การเคลื่อนไหวของ นิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น
2.3 การเคลื่อนไหวเชิงบังคับ โดยกิริยาสะท้อนหลายอย่างร่วมกัน (Manipulative Movement) เช่น การเล่นเปียโน การพิมพ์ดีด เป็นต้น
3. ความสามารถในการรับรู้ (Perceptual abilities) ซึ่งได้แก่
3.1 การรับรู้ความแตกต่างการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinesthetic discrimination) เช่น การรับรู้การกำมือ การงอเข่า การกระพริบตา เป็นต้น
3.2 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการเห็น (Visual discrimination) เช่น ความสามารถในการเห็นความแตกต่าง ของวัตถุที่สังเกตได้ เป็นต้น
3.3 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการได้ยิน (Auditory discrimination)เช่น ความสามารถ ในการจำแนกความแตกต่าง ของระดับเสียง หรือทิศทางของเสียงที่ได้ยิน เป็นต้น
3.4 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการสัมผัส (Tactile discrimination) เช่น ความสามารถ ในการบอกลักษณะของวัตถุที่สัมผัส ว่า หยาบเรียบ แข็ง หรืออ่อน เป็นต้น
3.5 ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ร่วมกัน (Coordinated abilities) เช่น ความสามารถในการใช้และประสาท ส่วนอื่น ๆ เพื่อร่วมมือกันในการเลือกหาวัตถุที่ต้องการ เป็นต้น
4. สมรรถภาพทางกาย (Physical abilities) ซึ่งได้แก่
4.1 ความทนทาน(Endurance) เช่น ความทนทานของร่างกายในการวิ่งแข่งมาราธอน เป็นต้น
4.2 ความแข็งแรง (Strength) เช่น ความแข็งแรงของแขนในการยกน้ำหนัก เป็นต้น
4.3 ความยืดหยุ่น (Flexibility) เช่น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อแขนขาในการเต้นรำ เป็นต้น
4.4 ความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว (Agility) เช่น ความฉับไวในการเปลี่ยนทิศทาง การเคลื่อนไหว เป็นต้น
5. การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยทักษะ (Skilled movements)
5.1 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่ทำได้ง่าย (Simple adaptive skill) เช่น ทักษะการเลื่อยไม้ เป็นต้น
5.2 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่ทำไปพร้อม ๆ กัน (Compound adaptive skill) เช่น ทักษะในการตีแบดมินตัน เทนนิส เป็นต้น
5.3 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่มีลักษณะซับซ้อนมาก (Complex adaptive skill ) เช่น ทักษะการเล่นยิมนาสติก เป็นต้น
6. การสื่อสารที่ต้องใช้ทักษะระดับสูงในการแสดงออก (Non-discursive Communication) ซึ่งได้แก่
6.1 การเคลื่อนไหวในเชิงแสดงออก (Expressive movement) เช่น การแสดงออก ทางสีหน้า หรืออากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ
6.2 การเคลื่อนไหวในเชิงตีความ (Interpretative movement) เช่น การเคลื่อนไหวใน เชิงสุนทรียภาพ หรือการเคลื่อนไหวในเชิงสร้างสรรค์

ลักษณะของแรงจูงใจ

แรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมีความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็นคุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้งเจ้าของกิจการ และพนักงานต่างร่วมกัน ค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซนวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายราย ที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไปทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความรู้สึก หรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะ เกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป ก็กล่าวได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน
แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คำชม การได้รับการยอมรับ ยกย่อง ฯลฯ แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรต่อพฤติกรรม บุคคลจะ แสดงพฤติกรรม เพื่อ ตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าว เฉพาะในกรณีที่ต้องการรางวัล ต้องการเกียรติ ชื่อเสียง คำชม การยกย่อง การได้รับ การยอมรับ ฯลฯ ตัวอย่างแรงจูงใจภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เช่น การที่คนงาน ทำงานเพียง เพื่อแลกกับ ค่าตอบแทน หรือเงินเดือน การแสดงความขยันตั้งใจทำงานเพียง เพื่อให้หัวหน้างานมองเห็นแล้ว ได้ความดีความชอบ เป็นต้น

แรงจูงใจ (motive)

แรงจูงใจ คือพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม และยังกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูง จะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำ จะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิก การกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย
ความหมายของแรงจูงใจ และการจูงใจ (Definition of motive and motivation)
แรงจูงใจ (motive) เป็นคำที่ได้ความหมายมาจากคำภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คำว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
  1. แรงจูงใจ หมายถึง "บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทำให้บุคคลต้องกระทำ หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย" (Walters.1978 :218) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการกระทำ นั่นเอง
  2. แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป็าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่นภาวะสิ่งแวดล้อม" (Loundon and Bitta.1988:368)
จากความหมายนี้จะเห็นได้ว่า แรงจูงใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
(1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้เกิดการกระทำ และ
(2) เป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายที่จะกระทำอย่างมีทิศทาง
ส่วนการจูงใจ (motivation) เป็นเงื่อนไขของการได้รับการกระตุ้นโดยมีการให้ความหมายไว้ ดังนี้
  1. การจูงใจ หมายถึง "แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายในของบุคคลที่กระตุ้นให้บุคคลมีการกระทำ" (Schiffman and Kanuk. 1991:69)
  2. การจูงใจ เป็นภาวะภายใน ของบุคคล ที่ถูกกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรมอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง (แอนนิต้า อี วูลฟอล์ค Anita E. Woolfolk 1995)
  3. การจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรม การกระทำหรือกิจกรรมของบุคคล โดยบุคคลจงใจ กระทำพฤติกรรม นั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ ต้องการ (ไมเคิล ดอมแจน Domjan 1996)
จากคำอธิบายและความหมายดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า การจูงใจ เป็นกระบวนการที่บุคคลถูก กระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจ ให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมที่เกิดจาก การจูงใจ เป็น พฤติกรรม ที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา แต่ ต้องเป็นพฤติกรรมที่มีความเข้มข้น มีทิศทางจริงจัง มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการไปสู่จุดใด และ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจาก แรงผลักดัน หรือ แรงกระตุ้น ที่เรียกว่า แรงจูงใจ ด้วย
ความสำคัญของการจูงใจ
การจูงใจมีอิทธิผลต่อผลผลิต ผลิตผลของงานจะมีคุณภาพดี มีปริมาณมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ การจูงใจในการทำงาน ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานจึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าอะไร คือแรงจูงใจที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ และไม่ใช่เรื่องง่ายในการจูงใจพนักงาน เพราะ พนักงานตอบสนองต่องานและวิธีทำงานขององค์กรแตกต่างกัน การจูงใจพนักงานจึงมี ความสำคัญ สามารถสรุปความสำคัญของการจูงใจในการทำงานได้ดังนี้
1. พลัง (Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำ หรือ พฤติกรรมของมนุษย์ ในการทำงานใดๆ ถ้าบุคคลมี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง ย่อมทำให้ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น กระทำให้สำเร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับ บุคคลที่ทำงานประเภท "เช้าชาม เย็นชาม" ที่ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันๆ

2. ความพยายาม (Persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน บากบั่น คิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์ของตน มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้มากที่สุด ไม่ท้อถอยหรือละความพยายามง่ายๆ แม้งาน จะมีอุปสรรคขัดขวาง และเมื่องานได้รับผลสำเร็จ ด้วยดีก็มักคิดหา วิธีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

3. การเปลี่ยนแปลง (variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงานในบางครั้ง ก่อให้เกิการค้นพบช่องทาง ดำเนินงาน ที่ดีกว่า หรือประสบ ผลสำเร็จมากกว่า นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องหมายของ ความเจริญ ก้าวหน้า ของบุคคล แสดงให้เห็นว่า บุคคลกำลังแสวงหาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต บุคคลที่มี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง เมื่อดิ้นรน เพื่อจะบรรลุ วัตถุประสงค์ใดๆ หากไม่สำเร็จบุคคล ก็มักพยายามค้นหา สิ่งผิดพลาด และพยายามแก้ไข ให้ดีขึ้นในทุก วิถีทาง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานจน ในที่สุดทำให้ค้นพบแนวทาง ที่เหมาะสมซึ่ง อาจจะต่างไป จากแนวเดิม

4. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการมุ่งมั่นทำงานที่ตนรับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้า จัดว่าบุคคลผู้นั้นมี จรรยาบรรณในการทำงาน (work ethics) ผู้มีจรรยาบรรณในการทำงาน จะเป็นบุคคล ที่มีความรับผิดชอบ มั่นคงในหน้าที่ มีวินัยในการทำงาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ ผู้มีลักษณะ ดังกล่าวนี้ มักไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดและทำในสิ่งที่ไม่ดี

ความสามารถในการหารายได้ของบุคคลในแต่ช่วงชีวิต หรือในแต่ละวัยจะแตกต่างกัน นอกจากนั้นภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว ในแต่ละช่วง จะแตกต่างกันด้วย ดังนั้นบุคคลจึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับภาระความรับผิดชอบที่ มีอยู่ เพื่อให้ทุกช่วงชีวิตของครอบครัว มีเงินใช้จ่ายอย่าง เพียงพอและต่อเนื่อง ลักษณะการเงินในแต่ละช่วงของครอบครัว (Financing the Family life Cycle)
ปัจจัยขั้นพื้นฐานของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลนับตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.ผู้มีส่วนร่วมในการวางแผน (Personal Input) โดยปกติส่วนใหญ่แล้วหัวหน้าครอบครัวจะเป็นผู้กำหนดการวางแผนทางการเงิน ร่วมกับภรรยา และบุตรที่เป็นผู้ใหญ่พอที่จะสามารถร่วมรับผิดชอบได้ แต่ถ้าท่านเป็นคนโสดผู้วางแผนทางการเงินก็คือตัวท่านเอง กล้าที่จะยอมเสี่ยงต่อการตัดสินใจ ในสิ่งที่มีการวางแผนไว้ และสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ใช้แผนการทางการเงินให้ความยินยอมในวัตถุ ประสงค์ทางการเงิน จะมีผลทำให้การดำเนินงานตามแผนไปได้
2.รายได้ส่วนบุคคลสุทธิรวม ปัจจัยสำคัญประการที่สองของการวางแผนทางการเงินโดยส่วนรวม คือ รายได้ส่วนบุคคลสุทธิรวม ซึ่งเป็นจำนวนเงินรายได้ภายหลังหักภาษีที่สมาชิกในครอบครัวมอบให้แก่ครอบ ครัว โดยปกติจำนวนรายได้เงินเดือนที่เป็นตัวเลขในบัญชีมักจะมีจำนวนสูงกว่ารายได้ ที่รับจริง ๆ เนื่องจากอาจมีการถูกหักไว้เป็นเงินสะสมซึ่งจ่ายให้ภายหลังการเกษียณอายุ หรือออกจากงาน รายจ่ายค่าประกันชีวิต เงินสวัสดิการ และอื่น ๆ รายได้ส่วนบุคคลสุทธิรวมรายได้ประจำทั้งหมดที่ได้รับจากสมาชิกภายในครอบครัว โดยไม่รวมถึงรายได้พิเศษที่สมาชิกหาได้ เช่น การทำงานล่วงเวลาหรือการทำงานพิเศษที่ทำให้รายได้มากขึ้น เพื่อให้เจ้าของเงินได้มีเงินไว้ใช้จ่ายเป็นส่วนตัวได้บ้างโดยไม่ต้องกันมา เป็นเงินทุนของครอบครัวเสียทั้งหมด
3. การวิเคราะห์บันทึกทางการเงิน การควบคุมรายจ่ายที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่งก็คือการตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน ที่มีอยู่ในครอบครัว ต้องการทราบว่ามีการจ่ายซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด

Personal Goal in Life

การวางแผนทางการเงินในแต่ละช่วงของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในช่วงวัยทำงาน วัยชรา หรือตอนเกษียณอายุไปแล้วว่าจะมีการจัดการด้านการเงินอย่างไร

บุคคลแต่ละคนย่อมมีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกันออกไป บางคนก็ต้องการให้ตัวเองมีเงินให้มากที่สุด จึงพยายามเก็บออมทุกวิถีทาง ส่วนบางคนก็ต้องการให้มีชีวิตครอบครัวที่ดีลูกๆ มีการศึกษาอย่างเต็มที่ก็พอใจแล้ว ไม่ว่าเป้าหมายของแต่ละคนจะกำหนดไว้อย่างไรก็ตาม เราอาจสรุปได้ว่าเป้าหมายของบุคคลทั่วไปมี 2 ลักษณะคือ
1. เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ( Financial Goal ) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินของบุคคล อันจะมีผลให้ฐานะทางการเงินของบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป้าหมายการเงินของบุคคลจะสำเร็จก็ต่อเมื่อมีการวางแผนการเงินที่ดี เช่น การรู้จักทำงบประมาณ โดยการควบคุมการใช้เงินอย่างถูกต้องตามแผนที่วางไว้ ตัวอย่างเช่น การมีเงินให้เพียงพอในการศึกษา มีเงินซื้อบ้านเป็นของตัวเอง เป็นต้น
2. เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน ( No financial Goal ) บางครั้งเงินก็ไม่ใช่สิ่งที่บุคคลมุ่งหวังเสมอไป ทัศนคติ ความนึกคิดเกี่ยวกับครอบครัว สังคม ศีลธรรมและศาสนา อาจมีค่าสำคัญกว่าเงินก็ได้เพราะบางคนถือว่า เงินไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต คนที่มีเงินก็ใช่ว่าจะมีความสุขทุกคน ดังนั้นเป้าหมายในชีวิตของบุคคลบางคนจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินเลยก็มี เช่น เขาตั้งเป้าหมายว่า ต้องการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แต่ทุกคนไม่ว่าจะมีระดับอาชีพรายได้และความเป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะมีการ กำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Finance Goal) ของตนไว้ ซึ่งตั้งเป้าหมายนี้ให้กำหนดในระดับที่เหมาะสมและคิดว่าตนเองสามารถทำได้ และจะบรรลุผลสำเร็จตามที่วางไว้
การกำหนดเป้าหมายทางการเงินนั้นควรมีกำหนดทั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
กล่าวคือถ้าหวังจะให้ตนเองและครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบันก็ ควรจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น (Short-term Financial Planning) ไว้ด้วย ในการวางแผนการเงินที่ดีนั้น ผู้วางแผนควรมีความเข้าใจทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งรู้จักนำเครื่องมือต่างๆใน การบริหารการเงิน (Financial Management Tools) มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้การวางแผนดังกล่าวถูกต้องสมเหตุสมผลและมีทางเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
แผนระยะสั้น (Short- term or current planning) ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับงานบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Assets) เช่น เงินสด เงินฝากต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เงินกู้หรือเครดิตอื่น ๆ สำหรับเรื่องการเงินเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยนั้นเป็นไปได้ทั้งแผนระยะสั้นและ ระยะยาว เพราะบางคนใช้วิธีทำประกัน แบบเฉพาะกาล (Term Insurance) หรือบางคนอาจจะทำประกันแบบตลอดชีพ (Whole life Insurance)
แผนระยะยาว (Long –term Planning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างฐานะความมั่นคงให้บุคคลในอนาคต เช่น การวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุ การสั่งซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อสะสมไว้ ตลอดจนการโอนทรัพย์สินเหล่านี้ไปกับทายาท เป็นต้น

การจัดการการเงิน