การวางแผนทางการเงินในแต่ละช่วงของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในช่วงวัยทำงาน
วัยชรา หรือตอนเกษียณอายุไปแล้วว่าจะมีการจัดการด้านการเงินอย่างไร
บุคคลแต่ละคนย่อมมีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกันออกไป
บางคนก็ต้องการให้ตัวเองมีเงินให้มากที่สุด จึงพยายามเก็บออมทุกวิถีทาง
ส่วนบางคนก็ต้องการให้มีชีวิตครอบครัวที่ดีลูกๆ
มีการศึกษาอย่างเต็มที่ก็พอใจแล้ว
ไม่ว่าเป้าหมายของแต่ละคนจะกำหนดไว้อย่างไรก็ตาม
เราอาจสรุปได้ว่าเป้าหมายของบุคคลทั่วไปมี 2 ลักษณะคือ
1. เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ( Financial Goal )
ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินของบุคคล
อันจะมีผลให้ฐานะทางการเงินของบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น
มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เป้าหมายการเงินของบุคคลจะสำเร็จก็ต่อเมื่อมีการวางแผนการเงินที่ดี เช่น
การรู้จักทำงบประมาณ โดยการควบคุมการใช้เงินอย่างถูกต้องตามแผนที่วางไว้
ตัวอย่างเช่น การมีเงินให้เพียงพอในการศึกษา มีเงินซื้อบ้านเป็นของตัวเอง
เป็นต้น
2. เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน ( No financial Goal )
บางครั้งเงินก็ไม่ใช่สิ่งที่บุคคลมุ่งหวังเสมอไป ทัศนคติ
ความนึกคิดเกี่ยวกับครอบครัว สังคม ศีลธรรมและศาสนา
อาจมีค่าสำคัญกว่าเงินก็ได้เพราะบางคนถือว่า
เงินไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต คนที่มีเงินก็ใช่ว่าจะมีความสุขทุกคน
ดังนั้นเป้าหมายในชีวิตของบุคคลบางคนจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินเลยก็มี เช่น
เขาตั้งเป้าหมายว่า
ต้องการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แต่ทุกคนไม่ว่าจะมีระดับอาชีพรายได้และความเป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะมีการ
กำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Finance Goal) ของตนไว้
ซึ่งตั้งเป้าหมายนี้ให้กำหนดในระดับที่เหมาะสมและคิดว่าตนเองสามารถทำได้
และจะบรรลุผลสำเร็จตามที่วางไว้
การกำหนดเป้าหมายทางการเงินนั้นควรมีกำหนดทั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
กล่าวคือถ้าหวังจะให้ตนเองและครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบันก็
ควรจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น (Short-term Financial
Planning) ไว้ด้วย ในการวางแผนการเงินที่ดีนั้น
ผู้วางแผนควรมีความเข้าใจทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
รวมทั้งรู้จักนำเครื่องมือต่างๆใน การบริหารการเงิน (Financial Management
Tools) มาใช้ให้เป็นประโยชน์
เพื่อให้การวางแผนดังกล่าวถูกต้องสมเหตุสมผลและมีทางเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
แผนระยะสั้น (Short- term or current planning)
ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับงานบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Assets) เช่น
เงินสด เงินฝากต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เงินกู้หรือเครดิตอื่น ๆ
สำหรับเรื่องการเงินเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยนั้นเป็นไปได้ทั้งแผนระยะสั้นและ
ระยะยาว เพราะบางคนใช้วิธีทำประกัน แบบเฉพาะกาล (Term Insurance)
หรือบางคนอาจจะทำประกันแบบตลอดชีพ (Whole life Insurance)
แผนระยะยาว (Long –term Planning)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างฐานะความมั่นคงให้บุคคลในอนาคต เช่น
การวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุ การสั่งซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อสะสมไว้
ตลอดจนการโอนทรัพย์สินเหล่านี้ไปกับทายาท เป็นต้น
Evaluation and control
-
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Evaluation and control)
มีความสาคัญและมีความสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์
โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น