ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ก.พ.ร.ได้พิจารณาคำขอจัดตั้งองค์การมหาชนโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ในกระทรวงต่าง ๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 12 แห่ง ดังนี้
1. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) 14 มี.ค. 2546
2. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) 26 มี.ค. 2546
3. สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน) 2 มิ.ย. 2546
4. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 2 มิ.ย. 2546
5. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 23 ก.ย. 2546
6. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) 31 ต.ค. 2546
7. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 31 ธ.ค. 2546
8. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 4 พ.ค. 2547
9. สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) 16 พ.ค. 2548
10. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2 ก.ย. 2548
11. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 14 ต.ค. 2548
12. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 20 เม.ย. 2549
หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit--SDU)
เพื่อการส่งเสริมประสิทธิภาพการพัฒนาระบบราชการตามเจตนารมณ์และเงื่อนไขตามมาตรา 3/1 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 ? 2550) เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ศึกษาแนวทางการจัดรูปแบบหน่วยงานของรัฐรูปแบบที่เรียกว่า? หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ? (Service Delivery Unit--SDU)
แนวคิดและหลักการของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
1. หน่วยบริการรูปแบบพิเศษคืออะไร
1.1 หน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีสถานะเป็นหน่วยงานให้บริการภายในของระบบราชการ โดยมีลักษณะกึ่งอิสระหรือมี arm?s length แต่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลยังคงถือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือกรม และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงหรืออธิบดีสุดแล้วแต่กรณี มีเป้าหมายให้บริการหน่วยงานแม่เป็นอันดับแรก และหากมีกำลังการผลิตส่วนเกินจะให้บริการหน่วยงานอื่นได้ ในการส่งมอบผลผลิตต้องมีระบบการประกันคุณภาพ
1.2 มีลักษณะของการจัดโครงสร้างการบริหารในแบบการกระจายอำนาจ แยกส่วนออกมาเป็นหน่วยงานเอกเทศ หรือเรียกกันว่า ศูนย์รับผิดชอบ (responsibility center) ที่สามารถดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรและการส่งมอบผลผลิตของตนเองในลักษณะเดียวกันกับศูนย์กำไร (profit center) ที่นิยมจัดตั้งขึ้นในบริษัทธุรกิจโดยทั่วไป
1.3 มีการถ่ายโอนและโยกย้ายข้าราชการและลูกจ้างบางส่วนออกไป ลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานให้ดีขึ้น
2. ลักษณะงานที่อาจกำหนดเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
2.1 มีลักษณะงานที่เป็นการให้บริการ
2.2 สามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจนภายใต้กรอบนโยบายที่กำหนดขึ้น
2.3 มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและสร้างภาระรับผิดชอบต่อหน่วยงานแม่ต้นสังกัดได้
2.4 สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
2.5 มีขนาดที่เหมาะสมเพียงพอต่อการแยกส่วนออกมาจากหน่วยงานแม่ต้นสังกัด
2.6 ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
3. การบริหารงาน
อาจดำเนินการในรูปของคณะกรรมการอำนวยการหรือคณะกรรมการบริหารที่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานแม่ต้นสังกัด โดยให้มีผู้อำนวยการซึ่งผ่านการคัดเลือกตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษจะต้องมีอิสระความคล่องตัวในการจัดโครงสร้างองค์กร อัตรากำลังและค่าตอบแทนของตนได้เองตามความเหมาะสม โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอำนวยการหรือคณะกรรมการบริหาร หรือผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานแม่สุดแล้วแต่กรณี
ผลการดำเนินการ
1. ขั้นจัดทำต้นแบบและทดลองนำร่อง 5 หน่วยงาน คือ
- สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์
- กองโรงพิมพ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.
- หน่วยงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมหรือ พิพิธภัณฑ์
- หน่วยงานทางด้านห้องปฏิบัติการ
2. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ?. ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ
ในปัจจุบัน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2548 ได้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2548
3. การจัดตั้งหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันนโยบายสาธารณะ (SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) (SDU) กรมประชาสัมพันธ์ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา (SDU) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (SDU) สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) (SDU)
Evaluation and control
-
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Evaluation and control)
มีความสาคัญและมีความสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์
โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น