การจัดทำงบทดลอง
1. เขียนชื่อกิจการที่จัดทำงบทดลองอยู่กลางกระดาษ
2. เขียนคำว่า “งบทดลอง” เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่จะทำต่อไปนี้คืองบทดลอง
3. เขียนวันที่ที่จัดทำงบทดลอง
4. เขียนเลขที่บัญชีและชื่อบัญชีของบัญชีต่าง ๆ จากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป โดยการเรียงตามเลขที่บัญชีจากน้อยไปหามาก
5. นำยอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปมาใส่ในช่องจำนวนเงินคือช่องเดบิตและช่องเครดิต โดยหากบัญชีใดมียอดคงเหลือทางด้านเดบิตก็ให้นำยอดคงเหลือนั้นใส่ในช่องเดบิต แต่หากบัญชีใดมียอดคงเหลือทางด้านเครดิตก็ให้นำยอดคงเหลือนั้นใส่ในช่องเครดิต โดยจะต้องคำนึงถึงธรรมชาติของบัญชีด้วย นั่นก็คือ
บัญชีหมวดสินทรัพย์ ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน เดบิต
บัญชีหมวดหนี้สิน ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน เครดิต
บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ
- บัญชีทุน ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน เครดิต
- บัญชีถอนใช้ส่วนตัว ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน เดบิต
บัญชีหมวดรายได้ ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน เครดิต
บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย ยอดคงเหลือจะอยู่ทางด้าน เดบิต
6. รวมจำนวนเงินในช่องเดบิตและช่องเครดิต หากยอดรวมของ 2 ช่องนี้เท่ากัน เราเรียกว่างบทดลองลงตัว แสดงว่าการบันทึกบัญชีได้บันทึกอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีคู่ แต่ถ้าหากยอดรวมของ 2 ช่องนี้ไม่เท่ากัน เราเรียกว่างบทดลองไม่ลงตัว แสดงว่าการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตามหลักการบัญชีคู่ ให้หาข้อผิดพลาดและทำการแก้ไข ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อต่อไป แต่ในตอนนี้จะขอแสดงตัวอย่างการจัดทำงบทดลองให้เห็นเสียก่อน
ตัวอย่างที่ 1
จากตัวอย่างที่ 1 “บำรุงกลการ” หลังจากที่ได้ผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไปไปสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และหายอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ด้วยดินสอดำแล้ว เราสามารถจัดทำงบทดลองของ “บำกล” ณ วันที่ 31 มกราคม 2555 ได้ดังนี้
บงกล
| |||||
งบทดลอง
| |||||
วันที่ 31 มกราคม 2555
| |||||
เลขที่บัญชี
|
ชื่อบัญชี
|
เดบิต
|
เครดิต
| ||
11
|
เงินสด
|
156,250
|
-
| ||
12
|
เงินฝากธนาคาร
|
25,000
|
-
| ||
13
|
ลูกหนี้
|
35,000
|
-
| ||
15
|
อุปกรณ์ซ่อม
|
250,000
|
-
| ||
31
|
ทุน-นายบำรุง
|
400,000
|
-
| ||
41
|
รายได้ค่าซ่อม
|
80,000
|
-
| ||
51
|
เงินเดือนและค่าแรง
|
6,000
|
-
| ||
52
|
ค่าเช่า
|
5,000
|
-
| ||
53
|
ค่าโฆษณา
|
2,000
|
-
| ||
54
|
ค่าสาธารณูปโภค
|
750
|
-
| ||
480,000
|
-
|
480,000
|
-
| ||
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น