กลไกการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
เป็นการทำสัญญาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอ้างอิงในอนาคต
ซึ่งมีความแตกต่างจากการซื้อสินค้าหรือบริการโดยทั่วไป
ซึ่งมีการซื้อขายที่มีการชำระเงินและส่งมอบสินค้าและบริการทันทีโดยการซื้อ
ขายนั้นต้องผ่านระบบตลาดอนุพันธ์
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยผ่านระบบตลาดอนุพันธ์นั้นสามารถแบ่งตลาดที่ว่า
ออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ
รูปแบบที่หนึ่ง การซื้อขายผ่านระบบตลาดทางการ (Organized
Exchange)
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดทางการจะมีกรรมวิธีการซื้อขายคล้ายกับ
การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คือ
ตลาดทางการซึ่งเป็นตลาดที่มีการซื้อและขายหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์
อย่างเปิดเผย มีการกำหนดราคา และช่วงของการขึ้นลงราคาอย่างชัดเจน
ข้อมูลข่าวสารของผู้ลงทุนจะได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
มีการเปิดเผยราคาหลักทรัพย์และราคาอนุพันธ์ให้ประชาชนผู้ลงทุนทราบ เช่น
การถ่ายทอดสดราคาของหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์
หรือบนอินเทอร์เน็ต
หรือแม้กระทั่งการตีพิมพ์ราคาของหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์ในหนังสือ
พิมพ์ เป็นต้น และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ผ่านระบบของตลาดอนุพันธ์ทางการ
ผู้ลงทุนทั้งฝ่ายซื้อและฝ่ายขายจะต้องถูกเรียกเงินประกัน
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดทางการ จะมีการการซื้อขายแบบ
Electronic หรือ Open Outcry
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะเปิดให้มีการซื้อขายแบบใด
แต่ส่วนใหญ่แล้วตลาดอนุพันธ์จะนิยมใช้ระบบ Open Outcry
เป็นระบบในการต่อรองราคาซื้อขายตราสารอนุพันธ์
โดยที่ระบบนี้จะเป็นการเปิดให้ Broker และ ผู้ค้าตราสารอนุพันธ์รายใหญ่
สามารถเข้ามาทำการซื้อและขายตราสารอนุพันธ์ ซึ่งสามารถทำการซื้อขายใน Floor
ได้ การซื้อการขายจะกระทำที่ Pitch ของสินค้าประเภทต่าง ๆ
โดยมีการส่งสัญญาณมือเป็นการต่อรองราคา
ทั้งนี้ในตลาดจะมีระบบทำการบันทึกภาพวิดีโอ
เพื่อเป็นหลักฐานในการตกลงในสัญญาต่าง ๆ
และเมื่อทำการซื้อขายเสร็จสิ้นจึงจะมีการจดทะเบียนยอดซื้อขายกัน
การซื้อขายในระบบ Open Outcry นี้มีโอกาสในการผิดพลาดได้ง่ายกว่าระบบ
Electronic มาก
รูปแบบที่สอง การซื้อขายผ่าน(Dealer หรือ Over-The-Counter: OTC)
เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นตลาดไม่เป็นทางการ
คือ เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยการตกลงกันเองระหว่าง ผู้ลงทุน
โดยที่การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นจะทำการชำระราคาและส่งมอบกันนอกระบบตลาด
คือ ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาดทางการ แต่ในต่างประเทศการซื้อขายในระบบ OTC
นี้ เป็นการซื้อขายที่มีนักลงทุน และนักเก็งกำไรทำการซื้อขายมากที่สุด
เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมาก
นอกจากนี้ระบบของตลาดทางการมีความแตกต่างจากตลาด OTC คือ
การซื้อและขายสัญญาล่วงหน้าต่าง ๆ นั้นจะต้องมีการเรียกเงินประกัน
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นักลงทุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดความเสี่ยง
เพราะหากไม่มีการเรียกเก็บเงินประกันแล้ว หากนักลงทุนฝ่ายใดเกิดการขาดทุน
นักลงทุนฝ่ายนั้นอาจไม่มาชำระราคา
หรือไม่มาส่งมอบสินทรัพย์ตามที่ตกลงกันไว้
ความแตกต่างของการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดทางการและตลาดเจรจาต่อรอง
มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ เช่น ลักษณะของสัญญา ความเป็นมาตรฐาน
การวางเงินประกัน สภาพคล่องของการซื้อขาย ความเสี่ยงจากการลงทุน
และการส่งมอบและชำระราคา เป็นต้น
ตลาดทางการเป็นตลาดที่มีสถานที่การทำการซื้อขายแน่นอน
มีกระบวนการในการดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย
มีพระราชบัญญัติรองรับในการเปิดดำเนินงาน มีเวลาเปิดเวลาปิดแน่นอน
ราคาซื้อขายมีการเสนอซื้อหรือขายอย่างเป็นระบบ
มีช่วงห่างของการขึ้นหรือลงของราคา
มีการประกาศราคาและข้อมูลในการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการประกาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สถานีโทรทัศน์ วิทยุ
หรือแม้กระทั่งหนังสือพิมพ์
ตลาดเจรจาต่อรองเป็นตลาดที่ไม่มีการซื้อขายกันอย่างเป็นระบบ
การเจรจาซื้อขายเป็นการต่อรองกันเอง
ซึ่งจำนวนสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ตกลงกันในสัญญาจะมีขนาดที่ไม่เท่าเทียม
กัน แต่ตลาด OTC เป็นตลาดที่มีความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งขนาดของตลาด OTC
ในหลายประเทศจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตลาดแบบมีระเบียบ
และมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมากขึ้น
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดแบบมีระเบียบจะแตกต่างจากตลาดต่อรอง
ในรูปแบบของสัญญาที่เป็นมาตรฐาน คือ
สัญญาที่จะสามารถนำไปซื้อขายกันในตลาดแบบมีระเบียบได้
จะต้องเป็นสัญญาที่มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น ขนาดของสัญญาต้องมีขนาดเท่ากัน
วิธีการส่งมอบต้องเหมือนกัน
คุณภาพของสินค้าหรือสินทรัพย์ที่กำหนดในสัญญาต้องมีคุณภาพเดียวกัน
ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเข้าใจกันว่าตนเองนั้นกำลังซื้อหรือขายสัญญา
ประเภทใด การทำให้สัญญาเป็นมาตรฐานเดียวกันนี้
จะทำให้สัญญาที่ซื้อขายในตลาดแบบมีระเบียบสามารถซื้อขายได้สะดวกมากขึ้น
เพราะจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายจะมีมาก หากสัญญามีความแตกต่างกันมาก
การซื้อและการขายจะไม่คล่องตัว
เนื่องจากผู้ลงทุนอาจต้องการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน
การซื้อขายในตลาดแบบมีระเบียบนี้
เพื่อให้ผู้ลงทุนลดความสี่ยงจากการผิดนัดชำระเงิน
หรือผิดนัดส่งมอบสินทรัพย์
ตลาดจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการเรียกเงินประกันจากทั้งสองฝ่าย
เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผู้ลงทุนหรือผู้เก็งกำไรทั้งสองฝ่ายจะไม่ผิดนัดตาม
สัญญาในอนาคต และการเรียกเงินประกันนี้จะต้องมีการปรับค่าตามราคาตลาดทุกวัน
หากผู้ลงทุนฝ่ายใดเกิดการขาดทุนจากการลงทุน
ตลาดจะทำหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินประกันเพิ่ม
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้แก่คู่สัญญา
การซื้อขายในตลาดแบบมีระเบียบจะมีสภาพคล่องที่สูงกว่า
เพราะสัญญามีมาตรฐานทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อขาย
และในการลงทุนในตลาดแบบมีระเบียบ การที่สัญญาเป็นมาตรฐาน
จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถปิดสถานะของตนเองได้เมื่อต้องการ
เพราะจะมีผู้ซื้อหรือขายอีกด้านหนึ่งรออยู่ตลอดเวลา
ลักษณะสุดท้ายของตลาดทางการ คือ
การส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญามักไม่มีการเกิดขึ้นจริง
แต่ด้วยผู้ลงทุนและผู้เก็งกำไรต้องการผลตอบแทนในรูปแบบของตัวเงิน
จึงทำให้การส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญาไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นการส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญาจึงเป็นเพียงการชำระผลกำไรหรือขาดทุนเท่า
นั้น
Evaluation and control
-
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Evaluation and control)
มีความสาคัญและมีความสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์
โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น