1. ขอบเขตของทฤษฎีการเงินในสมัยก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำกัดอยู่เพียงแต่ทฤษฎีที่อธิบายถึงมูลค่าของเงิน แต่ในสมัยต่อ ๆ มาของเขตของทฤษฎีการเงินมีความกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม โดยเป็นการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมทั้งระบบ ทฤษฎีการเงินได้มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง เวลาด้วยกัน
2. ทฤษฎีปริมาณเงินมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบ ๆ ต่อมาฟิชเชอร์ได้สร้างสมการแลกเปลี่ยนขึ้น สมการแลกเปลี่ยนยังอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของการซื้อขายแลกเปลี่ยน และรูปแบบของรายได้ นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคมบริดจ์ได้พัฒนาทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบความต้องการถือเงินสดขึ้นมา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีปริมาณเงินของฟิชเชอร์ แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างบางประการ
3. เราอาจอาศัยทฤษฎีปริมาณเงินของฟิชเชอร์ และทฤษฎีปริมาณเงินของสำนักเคมบริดจ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า แต่ไม่ว่าจะพิจารณาโดยอาศัยทฤษฎีใดก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและระดับราคาสินค้าก็เป็นเช่นเดียวกัน
4. นัยทางนโยบายของทฤษฎีปริมาณเงิน ก็คือการใช้นโยบายการเงินโดยจงใจเป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะกลับจะยิ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจประสบกับความไม่มีเสถียรภาพ นโยบายการเงินเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
ขอบเขตและวิวัฒนาการของทฤษฎีการเงิน
1. นักเศรษฐศาสตร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 เห็นว่าเงินมีบทบาทที่สำคัญ คือเป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นของเขตของทฤษฎีการเงินในสมัยนั้นจึงจำกัดอยู่เพียงแต่ทฤษฎีที่อธิบายถึงมูลค่าของเงิน นักเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้นมีทรรศนะว่า การเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินไม่สามารถส่งผลกระทบใด ๆ ต่อตัวแปรในภาคเศรษฐกิจจริง
2. นักเศรษฐศาสตร์ในระยะต่อ ๆ มา เริ่มมองเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินอาจส่งผลกระทบต่อตัวแปรในภาคเศรษฐกิจจริงได้ ดังนั้นขอบเขตของทฤษฎีการเงินในระยะหลัง ๆ จึงกว้างขวางกว่าเดิม โดยเป็นการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมทั้งระบบ และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเงินและปัจจัยที่มิใช่ปัจจัยทางการเงิน
3. ทฤษฎีการเงินได้มีวิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเรื่อยมา โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ
ช่วงแรก คือระยะเวลาก่อนหน้า ค.ศ. 1929 แนวความคิดในสมัยนั้นเป็นไปในลักษณะที่ว่า เงินมีความหมาย และนโยบายการเงินเป็นนโยบายที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ช่วงที่สอง คือระยะเวลาจาก ค.ศ. 1930 มาจนถึง ค.ศ. 1930 มาจนถึง ค.ศ. 1960 แนวความคิดเป็นไปในลักษณะที่ว่าเงินและนโยบายการเงินไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก
ช่วงที่สาม คือระยะเวลาจาก ค.ศ. 1960 มาจนถึงปัจจุบัน แนวความคิดในระยะนี้ เริ่มหวนกลับมาใหม่ว่า เงินและนโยบายการเงินเป็นตัวกำหนดที่สำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ของเขตของทฤษฎีการเงิน
ขอบเขตของทฤษฎีการเงินในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และตันคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำกัดอยู่เพียงแค่ทฤษฎีที่อธิบายถึงมูลค่าของเงินหรือทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้า ทั้งนี้เพราะนักทฤษฎีการเงินสมัยนั้นยังมีทรรศนะว่าเงินทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินก็จะส่งผลกระทบต่อตัวแปรในภาคเศรษฐกิจจริง
วิวัฒนาการของทฤษฎีการเงิน
1. ไม่จำเป็น เพราะนักทฤษฎีปริมาณเงิน มีข้อสมมุติว่าตลาดสินค้าและตลาดแรงงานเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ราคาสินค้าและค่าแรงย่อมจะปรับตัวเองไปโดยอัตโนมัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปริมาณผลิตผลอยู่แล้ว บทบาทของรัฐบาลจึงเพียงแต่คอยดูแลให้ปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่สอดคล้องกับอัตราขยายตัวของผลผลิตและความต้องการถือเงินในระยะยาว แต่ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินโดยจงใจ
2. "เงินมีความหมาย" หมายความว่า ปริมาณเงินเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วน "เงินไม่มีความหมาย" หมายความว่า เงินเป็นปัจจัยที่มิได้มีความสำคัญเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ ในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น นโยบายการเงินจึงเป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และนโยบายการคลังอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบต่าง ๆ
1. แนวคิดของทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบ ก็คือ ระดับราคาสินค้าจะแปรผันไปโดยตรงและโดยได้สัดส่วนกับปริมาณเงินถ้าสิ่งอื่น ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากในความเป็นจริง สิ่งอื่น ๆ มิได้คงที่ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงอาจไม่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงเท่าใดนัก
2. นักทฤษฎีปริมาณเงินในระยะต่อมา และที่สำคัญ คือฟิชเชอร์ได้สร้างสมการแลกเปลี่ยนขึ้นเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงระหว่างปริมาณเงินกับกระแสของการใช้จ่ายในรูปของตัวเงิน สมการดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ MV = PT แต่สมการดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งที่เป็นจริงแต่มิใช่ทฤษฎี เพราะทั้งสองด้านของสมการนี้ เป็นสมการมองสิ่ง ๆ เดียวกัน แต่มองไปคนละแบบ ฟิชเชอร์เน้นบทบาทของเงินในฐานะเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยนเพียงอย่างเดียว
3. สมการแลกเปลี่ยนมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของรายการซื้อขายแลกเปลี่ยน MV = PT และรูปแบบของรายได้ MVy = PyY จากสมการแลกเปลี่ยนทั้ง 2 รูปแบบนี้ ถ้าจะดัดแปลงให้อยู่ในรูปของทฤษฎีก็อาจกระทำได้ โดยแปลงให้อยู่ในรูป P = MV/T หรือ Py = MVy/Y ซึ่งเป็นการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง P หรือ Py ซึ่งเป็นตัวแปรตามกับตัวแปรอื่นๆ ในสมการซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ แต่เนื่องข้อสมมุติของนักทฤษฎีปริมาณเงินที่ให้ V หรือ Vy และ T หรือ y คงที่ ดังนั้นทฤษฎีปริมาณเงินในลักษณะนี้ก็ยังได้ข้อสรุปที่เหมือนทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบว่าระดับราคาสินค้าจะแปรผันไปโดยตรงและโดยได้สัดส่วนกันกับปริมาณเงิน
4. นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคมบริดจ์ ได้พัฒนาปริมาณเงินในรูปแบบของความต้องการถือเงินสดขึ้นมา ทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบของรายการซื้อขายแลกเปลี่ยน แต่รูปแบบของความต้องการถือเงินสด ให้ความสนในต่อปัจจัยที่กำหนดปริมาณเงินที่ประชาชนในสังคมต้องการคือ สำนักเคมบริดจ์มีความเห็นว่าการที่คนเราต้องถือเงินนั้นก็เนื่องมาจากเงินให้บริการในด้านต่าง ๆ หลายด้านแก่ผู้ซื้อมิใช่เฉพาะบริการในด้านเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน
Evaluation and control
-
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Evaluation and control)
มีความสาคัญและมีความสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์
โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น