สภาพของเศรษฐกิจ (Nature of the economy) นอกจากในเรื่องของขนาดและศักยภาพของตลาดแล้ว นักการตลาดควรให้ความสนใจในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ปัจจัยความสามารถทางกายภาพ (Physical endowment) ประกอบด้วย
1.1 ทัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ พลังงานน้ำ ที่ดิน ภูมิประเทศ และภูมิประเทศ เป็นต้น นักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องเข้าใจลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมทางด้านการตลาดของประเทศนั้นๆ
1.2 ภูมิประเทศ (Topography) เป็นลักษณะโดยทั่วไปของประเทศ ประกอบด้วย ที่ดิน แม่น้ำ ป่าทะเลทราย และภูเขา ดังนั้นนักการตลาดระหว่างประเทศจึงต้องทำการวิเคราะห์ภูมิประเทศ จำนวนประชากร และสภาพการขนส่ง เพื่อพยากรณ์ตลาดและปัญหาในการขนส่งสินค้า
1.3 ภูมิอากาศ (Climate) ประกอบด้วย ระดับอุณหภูมิ ลม ฝน หิมะ ความแห้งแล้ง และความชุ่มชื้น ภูมิอากาศเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเสนอสินค้าของบริษัท และจะมีผลต่อสินค้าอุปโภคและบริโภคตั้งแต่อาหารไป จนกระทั่งถึงเสื้อผ้า หรือตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงอุปกรณ์ทางด้านสันทนาการ (Recreational supplies) ตลอดจนความต้องการยาของประเทศในเขตร้อน (Tropics zone) จะแตกต่างจากประเทศในเขตอบอุ่น (Temperate zones)
2. สภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Nature of economic activity) ดังนี้
2.1 แนวคิดของ Rostow (Rostow’s view) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อว่า Rostow ได้แบ่งขั้นการพัฒนาเศรษฐกิจออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
(1) ขั้นสังคมแบบดั้งเดิม (The traditional society) เป็นช่วงที่ยังเชื่อในเรื่องของประเพณี และวัฒนธรรมดั้งเดิม ดังนั้นสินค้าจึงเป็นสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่
(2) ขั้นการเตรียมพร้อมไปสู่การปฏิรูป (The preconditions for takeoff) เป็นสังคมที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตามยังคงเหลือประเพณีดั้งเดิมอยู่ ดังนั้นการเกษตรก็ยังคงมีอยู่แต่เป็นลักษณะของการเกษตรแปรรูป
(3) ขั้นปฏิรูป (The takeoff) เป็นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่น การปฏิวัติฝ้าย เป็นต้น
(4) ขั้นเติบโตเต็มที่ (The drive to maturity) เป็นช่วงที่ประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น เปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมเบา อาทิ ทอผ้าไปเป็นอุตสาหกรรมหนัก อาทิ เหล็ก น้ำมัน เป็นต้น
(5) ขั้นการบริโภคจำนวนมาก (The age of high mass consumption) ขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อประชากรในประเทศมีรายได้มากพอ รายได้จากอุตสาหกรรมหนักซึ่งจะมีราคาแพง ทำให้คนในประเทศมีการใช้สินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น เช่น การท่องเที่ยว การทำประกันสุขภาพ เป็นต้น
2.2 เกษตรหรืออุตสาหกรรม (Farm or factory) เป็นวิธีหนึ่งในการพิจารณาชนิดตลาดของประเทศ โดยจะมองที่จุดเริ่มต้นว่า ประเทศนั้นเป็นเศรษฐกิจแบบเกษตรหรืออุตสาหกรรม และดูจากลักษณะของสินค้าเกษตรหรืออุตสาหกรรม ตลอดจนลักษณะของสินค้าและบริการ
2.3 ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input – output tables) ถ้ากิจการสามารถสร้างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของอุตสาหกรรมสำหรับตลาดที่สำคัญและนำมาเปรียบเทียบกันจะทำให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของการได้แนวคิดที่ดีว่า จะใช้เครื่องมือและปัจจัยการผลิตอย่างไรให้เหมาะสมกับโครงสร้างอุตสาหกรรมในตลาดนั้นซึ่งใช้มากในตลาดอเมริกา ถึงแม้ว่าโครงสร้างจะแตกต่างกันแต่เทคนิคสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ เช่น บางประเทศเน้นปัจจัยแรงงานในการผลิตผ้า ขณะที่บางประเทศจะเน้นปัจจัยทุนในการผลิตผ้า เป็นต้น
3. สาธารณูปโภคของประเทศ (Infrastructure of the nation) อุตสาหกรรมแบ่งกิจกรรมที่สำคัญออกเป็น 2 ภาคคือ (1) การผลิต (Production) (2) การตลาด (Marketing) การดำเนินการขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนับสนุนการดำเนินการ ตลอดจนการบริการนอกกิจการซึ่งเรียกว่า สาธารณูปโภคในระบบเศรษฐกิจ (Infrastructure of an economy) ยิ่งมีบริการภายในประเทศมากเท่าใดก็ยิ่งจะทำให้บริษัทในประเทศสามารถดำเนินการผลิตและทำการตลาดได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
สาธารณูปโภคของประเทศ ประกอบด้วย (1) พลังงาน (Energy) (2) การขนส่ง (Transportation) (3) การติดต่อสื่อสาร (Communications) (4) สาธารณูปโภคที่ส่งเสริมทางด้านการค้า (Commercial infrastructure)
4. ความเป็นเมือง (Urbanization) ลักษณะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของระบบเศรษฐกิจคือ ระดับความเป็นเมือง (The degree of urbanization) เพราะประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ในเขตหมู่บ้าน หรือชนบทจะมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้จะสะท้อนถึงทัศนคติของบุคคลที่แตกต่างกันด้วย เช่น ในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากการสื่อสารและการคมนาคมที่สะดวกทำให้ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทจะลดลง
เกษตรกับเมือง (Farm versus city) มีเหตุผลมากมายสำหรับพฤติกรรมที่แตกต่างกันระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบท นักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมืองกับการบริโภคสินค้า
5. ลักษณะสำคัญอื่นๆ ของเศรษฐกิจต่างประเทศ (Other characteristics of foreign economic) ลักษณะสำคัญบางประการของเศรษฐกิจต่างประเทศซึ่งมีผลต่อการดำเนินการระหว่างประเทศมีอยู่ 3 ประการคือ
5.1 เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง สภาพทางเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและมูลค่าของเงินมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากอำนาจซื้อมีมากว่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้
5.2 บทบาทของรัฐบาล (Role of government) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและสภาพของการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจนั้น ถ้ารัฐบาลเป็นระบบสังคมนิยมจะมีการจำกัดภาคการผลิตที่เอกชนมีบทบาทค่อนข้างน้อย
5.3 การลงทุนต่างประเทศในระบบเศรษฐกิจ (Foreign investment in the economy) นักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องรู้ว่า สามารถดำเนินการในต่างประเทศได้อย่างไรบ้าง ข้อมูลจะเป็นตัวบอกถึงทัศนคติของรัฐบาลที่มีต่อบริษัท โดยนักการตลาดต้องตระหนักถึงแนวโน้วการลงทุนต่างประเทศว่า ในบางประเทศอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง
Evaluation and control
-
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Evaluation and control)
มีความสาคัญและมีความสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์
โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น