การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านการนำเข้าได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้จากตัวเลขการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น [Gross domestic product (GDP)] ซึ่งเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) และเพิ่มขึ้นเป็น 6 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) 10 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) 9.4 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) และ 11.9 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) การส่งออก (Exports) และการนำเข้า (Imports) เมื่อเทียบสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น [Gross domestic product (GDP)] จะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันเหมือนกันทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก จึงทำให้เห็นถึงความสำคัญของการพึ่งพากันในธุรกิจระหว่างประเทศมากขึ้น

บริษัทของสหรัฐอเมริกาในตลาดโลก (The U.S. firm in the Global Marketplace) การไม่ให้ความสนใจต่อตลาดต่างประเทศและคู่แข่งจากตลาดต่างประเทศจะทำให้เกิดผลเสียต่อบริษัทของอเมริกา 2 ประการ คือ (1) การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศ (2) การไม่ได้รับผลกำไรจากการเติบโตในตลาดต่างประเทศ

ความสำคัญของการลงทุนตรงจากต่างประเทศ [Importance of Foreign Direct Investment (FDI)] มีดังนี้
อุปสรรคทางการค้าในด้านแนวคิด (The trade barrier of the mind) ขณะที่ Kenneth Butterworth ประธานกรรมการบริษัท Loctite ได้กล่าวว่า ปัญหาเกี่ยวกับข้อกีดกันทางการค้าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากแนวความคิดเพราะบริษัทส่วนใหญ่มักจะพึ่งพาตลาดในประเทศมากเกินไป ตลอดจนมีโลกทัศน์ที่แคบทำให้กิจการในอเมริกาไม่แน่ใจที่จะเข้ายึดครองตลาดต่างประเทศ ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยที่คุกคามและเป็นอุปสรรคทางการค้า

จากการที่ดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาขาดดุลอย่างต่อเนื่องกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับการกระตุ้นทั้งในระดับรัฐบาลและจากส่วนกลางให้เน้นการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยหน่วยงานรัฐบาลจะช่วยเหลือในการออกค่าใช้จ่ายในการแสดงสินค้าโดยกรมการค้าและหน่วยงานอื่นๆ การช่วยเหลือทางด้านการเงินในการส่งเสริมการส่งออกเป็นไปได้ที่จะยืดการชำระเงินออกไปและเสนออัตราดอกเบี้ยที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ทำการส่งออก จำนวนชาวต่างชาติตลอดจนผู้อพยพทั้งหลายที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัทอเมริกาจะช่วยทำให้บริษัทในอเมริกาทราบถึงโอกาสในการทำการตลาดในต่างประเทศ ตลอดจนวิธีการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็จะหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ประสบความสำเร็จในตลาดดังกล่าว

การตลาดระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง คำว่า ตลาดโลก (Global marketing) เป็นตัวอธิบายว่า ทั่วโลกสามารถรวมตลาดทั่วโลกเป็นตลาดเดียวและถือว่าตลาดในแต่ละประเทศเป็นตลาดย่อย (Submarket)


การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ [Foreign Direct Investment (FDI)] คือ การลงทุนที่ผู้ลงทุนจากต่างประเทศมีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมกิจการ ซึ่งอาจกระทำโดย (1) การเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทผู้ผลิตเดิมในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (2) การเข้าไปตั้งบริษัทสาขาในประเทศที่เข้าไปลงทุน (3) การเข้าไปจัดตั้งบริษัทใหม่ในประเทศที่เข้าไปลงทุน

บริษัทต่างๆ สามารถสร้างยอดขายจากต่างประเทศโดยการส่งออกหรือขายสินค้าโดยตั้งสาขาในต่างประเทศเมื่อระยะเวลาผ่านไป การส่งออกมีแนวโน้วจะได้รับการทดแทนโดยยอดขายจากการตั้งสาขาในต่างประเทศโดยมีเหตุผลสำคัญ 4 ประการคือ (1) การขายสินค้าที่ทำให้ต่างประเทศจะถูกกว่าเพราะสามารถหลีกเลี่ยงในเรื่องของภาษีศุลกากรและต้นทุนค่าขนส่ง (2) การผลิตสินค้าในตลาดต่างประเทศจะรอดพ้นจากการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของรัฐบาล ตลอดจนการกีดกันทางด้านการค้า (3) สินค้าและบริการสามารถปรับให้เข้ากับรสนิยมในตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น (4) สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะสินค้าจะผลิตและขายในเงินสกุลเดียวกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน