การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ธุรกิจลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ (Global Business Logistics)

ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจจำนวนมากได้เริ่มให้ความสนใจกับธุรกิจระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น บริษัทของสหรัฐฯ จำนวนมากที่พบว่า การประเมินการค้าของแหล่งผลิตในต่างประเทศ เป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งต่อองค์กรที่มีการดำเนินงานทางด้านลอจิสติกส์และการบริหารวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ โดยในตลาดส่งออกของประเทศกำลังพัฒนานั้นบริษัทของสหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความต้องการในด้านของประสิทธิภาพในระบบลอจิสติกส์และระบบเครือข่าย โดยพวกเขามองว่า กลยุทธ์ในด้านลอจิสติกส์ที่เป็นมาตรฐานและขบวนการจัดการ เป็นสิ่งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในส่วนของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความแตกต่างของสินค้าให้กับธุรกิจ

โดยทั่วไปแล้ว วิธีการที่จะพัฒนาระบบลอจิสติกส์ที่เป็นมาตรฐานนั้นมักจะกำหนดให้มีระดับของการประสานงานระหว่างกลุ่มลอจิสติกส์ การตลาด และการจัดซื้อในธุรกิจต่างๆ ให้อยู่ในระดับเดียวกันและเป็นระดับบริหารที่สูง

ซึ่งในประเด็นแรกนี้ เราจะพูดถึงธรรมชาติหรือลักษณะของธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน และระบบลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ เป็นเด็นที่สอง คือ แนวโน้วของระบบลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย ประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงระบบการขนส่ง กลยุทธ์ในการจัดจำหน่าย การจัดเก็บสินค้าและการหีบห่อ รวมถึงการแทรงแซงของภาครัฐ
ความเติบโตของการค้าโลกสามารถทำได้โดยการวางแผนทางด้านลอจิสติกส์ของบริษัททั่วโลก ประเทศต่างๆ เริ่มมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นอันเนื่องมาจากความสำเร็จในด้านลอจิสติกส์ การค้าระหว่างประเทศมีการเจริญเติบโตทั้งในด้านของปริมาณและมูลค่าทั้งในประเทศสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โลกเริ่มมีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเติบโตของกิจกรรมทางด้านลอจิสติกส์ ธุรกิจจะทำการผลิตในที่ตั้งที่มีความเป็นไปได้ในการผลิต และการขนส่งจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง โดยใช้ความเชี่ยวชาญในด้านลอจิสติกส์

การที่ธุรกิจได้โอนเรื่องการจัดการวัตถุดิบออกไปให้แก่ซัพพลายเออร์ในต่างประเทศนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบลอจิสติกส์ ซึ่งบริษัทมองว่า บริษัทจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า หากมีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า นอกจากนี้แนวโน้มของธุรกิจในปัจจุบันจะเป็นการโอนส่วนที่ธุรกิจไม่มีความชำนาญไปให้กับธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่มีความชำนาญกว่าเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้แทน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านต้นทุน โดยผ่านระบบลอจิสติกส์และลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบางบริษัทที่พยายามจะประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับการโอนส่วนที่ธุรกิจไม่มีความชำนาญไปให้ผู้ประกอบการอื่นดำเนินการกับแนวคิดในเรื่องการจัดการเข้าด้วยกัน เป็นแนวคิดที่มีชื่อว่า “Focused manufacturing” ซึ่งแนวคิดนี้จะมองด้านกลยุทธ์ในการวางระบบของโรงงานในการทำหน้าที่เสมือนซัพพลายเออร์ของการผลิตหรือสายการผลิตนั่นเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน