การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศและการตลาดระดับโลก

การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ (Social and managerial process) ซึ่งบุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่สนองความจำเป็นและความต้องการของเขาจากการสร้าง (Creation) และการแลกเปลี่ยน (Exchanging) สินค้าและคุณค่ากับบุคคลอื่น (Kotler and Armstorng. 2001 : G – 6)

กิจกรรมทางด้านการตลาด (Marketing activities) ที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ (1) การศึกษาลูกค้าผู้ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Prospective buyers) (2) การกำหนดส่วนประสมการตลาด (Marketing mix) ซึ่งประกอบด้วย (2.1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Develop the products or services) (2.2) การกำหนดราคาและเงื่อนไข การชำระเงิน (Set prices and terms) (2.3) การจัดจำหน่าย (Distribution หรือ Place) (3) การใช้การสื่อสารทางการตลาด (Marketing communication) หรือการส่งเสริมการตลาด (Promotion)

การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (Terpstra and Sarathy. 2000 : 12)

รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) การค้นหาความต้องการของลูกค้าระดับโลก (2) การตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก (3) การทำให้มีคุณภาพและมีกลุยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (4) การประสมประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด (5) การตระหนักถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก

การจัดการตลาดระหว่างประเทศ (International marketing management) เป็นการวิเคราะห์ (Analysis) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) และการควบคุม (Control) โปรแกรมในการออกแบบ (Designed) การสร้างสรรค์ (Create) การสร้าง (Build) และการเก็บรักษา (Maintain) เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศที่เป็นเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ สามารถพิจารณาทางด้านสภาพแวดล้อมได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การแข่งขันในระดับโลก (Global competition) โดยคู่แข่งขันที่มาจากทั่วโลกจะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน (2) สภาพแวดล้อมระดับโลก (Global environment) จะเกี่ยวข้องกับความหลากหลายในปัจจุบันทางด้านรัฐบาล วัฒนธรรมและระดับรายได้

นอกจากนี้การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing management) ต้องใช้ผู้บริหารด้านการตลาดที่มีขีดความสามารถมากกว่าการตลาดภายในประเทศ (Domestic marketing) ซึ่งสิ่งที่ผู้บริหารด้านการตลาดให้ความสำคัญมากที่สุด 6 ประการ มีดังนี้ (1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (Developing new products) (2) การพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้จัดจำหน่าย ตลอดจนผู้ซื้อ (Developing relationships with suppliers, distributors, even customers) (3) การมีคู่แข่งขันระดับโลกน้อยรายแต่มีความแข็งแกร่งมาก (Fewer but stronger global competitors) (4) มีแรงกระตุ้นให้มีการแข่งขันด้านราคา (Enhanced price competition) (5) การรวมตัวกันในระดับภูมิภาค และมีกฎระเบียบของรัฐบาลมากขึ้น (Greater regional integration and government regulations) (6) การพัฒนาวัฒนธรรมทางการตลาด (Developing a marketing culture)

แหล่งของผู้ซื้อ (Where the buyer are) ในบางครั้งตลาดต่างประเทศอาจจะเป็นเพียงตลาดเดียวที่สามารถขายสินค้าของบริษัทได้ เช่น การทำน้ำจืด (เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำจืด) ประมาณ 2 ใน 3 ของบริษัททำน้ำจืดเกิดขึ้นในประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น

แหล่งของแนวความคิด (Where the ideas are) ตลาดต่างประเทศสามารถเป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ได้ เช่น นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอเมริกาและยุโรปได้ผลักดันปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นโดยใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทำให้มลภาวะลดลงและเพื่อชดเชยการนำเข้าของน้ำมันด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน