การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Compliance typology

การยอมตาม หรือ ยินยอมตามคำสั่ง เป็นพื้นฐานสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ที่ปฏิบัติตามอำนาจ คือ การทำให้ผู้อื่นยินยอม หรือ ยอมตาม ในขณะที่การมีทัศนคติต่อเรื่องนั้น ๆ ก็มีความสัมพันธ์กับการใช้อำนาจนั้นด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ วัฒนธรรม และคุณสมบัติของสมาชิก ซึ่งมีความแตกต่างของประเภทของอำนาจ และประเภทของการเข้าไปมีส่วนร่วม สามารถมีผลต่อรูปแบบ หรือ ประเภทของการยอมตาม รูปแบบของการยอมตาม หรือ ยินยอม เป็นสิ่งที่สำคัญมากในโครงสร้างขององค์กร ในปี 1965 Etzioni ได้พัฒนารูปแบบของโครงสร้างองค์กร บนพื้นฐานของการเข้าไปมีส่วนร่วม โดยสรุปประเภทของอำนาจและการมีส่วนร่วมไว้ 3 ประเภท ดังนี้
- อำนาจโดยการบีบบังคับ เป็นความกดดันในเชิงรูปธรรมเพื่อให้บางคนเชื่อฟัง เช่น ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายกับทาส
- อำนาจโดยการให้รางวัลหรือการให้ผลประโยชน์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของรางวัลและการลงโทษ เช่น การค้าขายที่ห้ามเรือเข้าออกจากท่าภายในประเทศ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน - อำนาจโดยการจูงใจให้มีจิตสำนึก หรือตั้งกฎเกณฑ์ร่วมกันนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้มีอำนาจโดยตำแหน่งมีสิทธิที่จะแสดงพฤติกรรมเพื่อการปกครองได้
การมีส่วนร่วมแบบบาดหมาง หมายถึง ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับผู้กุมอำนาจ แต่ต้องยอมจำนนโดยปราศจากความเห็นพ้อง ด้วยความกลัวจะเกิดปัญหา หรือการมีข้อจำกัด - การมีส่วนร่วมแบบวิเคราะห์ อ้างถึงทางเลือกที่คิดอย่างรอบคอบที่จะเชื่อฟังเพราะคาดหวังในรางวัลหรือเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ
- การมีส่วนร่วมแบบมีศีลธรรม เป็นผลมาจากความเห็นพ้องต้องกัน บนพื้นฐานของบรรทัดฐานทางสังคม หรือ ค่านิยม
เมื่อมากำหนดในรูปของตารามแมตทริกซ์ ทำให้เกิดรูปแบบของการยอมตาม หรือ ยินยอมได้ 9 ประเภท และที่เราเรียกว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สอดคล้อง (1, 5 และ 9) พบได้บ่อยครั้งมากกว่า 6 รูปแบบ เพราะความสอดคล้องกัน จะทำให้เกิดประสิทธิผลและความเป็นกลุ่มสังคมจะช่วยสร้างประสิทธิผลภายใต้ความกดดันทั้งจากภายในและภายนอก ตัวอย่างเช่น อำนาจโดยการบีบบังคับอาจทำให้เกิดประสิทธิผลแต่จะทำให้เกิดการบาดหมางสูง แต่ในสภาพแวดล้อมที่สมาชิกมีข้อตกลงร่วม แน่นอน ลักษณะเช่นนี้ค่อนข้างจะทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา การยินยอมทำตามโดยไม่ลงรอยกันมักมีอยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตามองค์การสามารถจำกัดการควบคุมอำนาจ โดยการนำมาประยุกต์ให้ผู้มีส่วนร่วมเข้ามามีความสัมพันธ์กันได้ กาดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องใช้ทั้งทรัพยากรและทักษะ ในขณะที่ความสัมพันธ์นี้ อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ยกเว้นแต่จะมีการควบคุมจากองค์กร เช่น บรรทัดฐานทางศาสนา และค่านิยม
การรวมตัวกันของสมาชิกภาพ และโครงสร้างด้านลักษณะส่วนบุคคล
Etzioni ชี้ให้เห็นถึง ข้อสมมติฐานที่สำคัญ 2-3 ประการ เกี่ยวกับหลักเบื้องต้นของทฤษฎีนี้ ดังต่อไปนี้ :
- องค์กรมีแนวโน้มที่จะ ยกระดับโครงสร้างรูปแบบการยินยอมจากความไม่ลงรอยกัน ไปสู่รูปแบบความสอดคล้องกันและการต่อต้านจะหายไป
- แม้ว่าอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายจะเป็นอำนาจที่มีประสิทธิผลด้วยตัวของมันเอง แต่อย่างไรก็ตาม อำนาจตามกฎเกณฑ์ หรือ บรรทัดฐานน่าจะเป็นสิ่งที่พึงปรารถนามากที่สุด
ขณะที่ อำนาจจากการบังคับจะเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาน้อยที่สุด เมื่อเป็นอำนาจที่ต้องด้วยกฎหมาย
- ความร่วมมือภายในองค์กร เป็นทั้งผลกระทบจากทั้งคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และจากระดับของความความจำเป็นที่ขมขื่น ความปรารถนา ความปราถนาอย่างแรงกล้า
- พันธสัญญาส่วนบุคคล จากคำสั่งไม่เหมือนการยินยอมทำตาม พันธสัญญาส่วนบุคคลสามารถปรากฎได้ตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้
แต่คำสั่งนั้นเป็นไปตามแรงผลักดันที่ต้องเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่ละองค์กรมีการจัดตำแหน่งรูปแบบการยินยอมทำตามด้วยแบบของตัวเอง ผู้ที่มีระดับที่ต่ำกว่าจะมีความร่วมมือในการยินยอมทำตามที่ซับซ้อนมากกว่าผู้ที่ระดับสูงกว่า ผู้ที่ระดับต่ำกว่า ได้แก่ พนักงาน, คนงาน, สมาชิก, ผู้มีส่วนร่วม ฯลฯ ซึ่งระยะเวลาจะมีผลต่อผู้มีส่วนร่วม
ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า อยู่บนการวิเคราะห์แบบ 3 มิติ :
ธรรมชาติของการร่วมมือกันของผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงาน ตามที่ Etzioni ได้กำหนดไว้ คือ เหล่าผู้มีส่วนร่วมที่ไม่มีตำแหน่งระดับสูงเช่นเดียวกัน จะมีมิติเช่นเดียวกันหรือไม่ ในความเป็นจริงแล้วมีเขตแดนอยู่ภายในองค์กร ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับลูกค้าบนพื้นฐานของการจัดแบ่งประเภทการยินยอมตามคำสั่งของEtzioni สรุปไว้ว่า มีธรรมเนียมปฏิบัติ 3 แบบ
1.กฎเกณฑ์ขององค์กรซึ่งบุคคลจะร่วมมือปฏิบัติอย่างสมัครใจเพราะเขาเหล่านั้นได้พิจารณาแล้วว่าเป้าหมายอันคุ้มค่ากับความพยายาม อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
2.สำหรับองค์กรที่ถือผลประโยชน์เป็นสำคัญบุคคลจะปฏิบัติตาม เพราะมีแรงจูงใจจากรางวัลโดยวัตถุนิยม
3.การยินยอมทำตามเพราะถูกบีบบังคับ

จะใช้รูปแบบนี้เมื่อใด
ไม่มีใครสามารถใช้รูปแบบนี้ได้อย่างถูกต้อง ในอีกมุมหนึ่งนี่คือเป้าหมาย เพื่อให้องค์กรสะดวกสบายขึ้น การกำหนดอำนาจแต่ละแบบเพื่อใช้ในองค์กร แต่อย่างไรก็ตามนั่นคือการยินยอมตกลงด้วยความร่วมมือกันอย่างดี ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา กับผู้บังคับบัญชาในองค์กร องค์กรจะสามารถมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้ จะค้องใช้อำนาจนี้ เพื่อวัดประสิทธิภาพโดยการแจกจ่ายคำสั่งกับบุคคลอี่น ๆ ในองค์กร หรือแม้แต่การจัดการหน่วยงานฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรก็สามารถใช้โครงสร้างจากรูปแบบนี้ได้
การวิเคราะห์โดยสรุป
รูปแบบการยินยอมทำตามคำสั่งของ Etzioni นั้น ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ในเรื่องที่ว่าทำไมพนักงานจึงจะเต็มใจทำตามคำสั่งหรือไม่เต็มใจทำตามคำสั่ง เรื่องนี้จึงเป็นที่ชัดเจนในการยอมรับตามข้อตกลงร่วมกัน
อย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่นั้น จะมีนักวิทยาศาสตร์ได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับการแบ่งระดับชั้นของอำนาจ 3 ระดับของ Etzioni เกี่ยวกับเรื่องของอำนาจที่กว้างจนเกินไป สำหรับประเด็นนี้ French และ Raven สามารถอ้างอิงได้ว่าอำนาจมีจุดประสงค์ 5 ประการดังนี้ :
1. อำนาจโดยผู้อ้างอิง ซึ่งมีพื้นฐานจากการดึงดูด การชื่นชม หรือ ความเคารพ 2. อำนาจโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีพื้นฐานจากผู้ที่กุมอำนาจนั้นมีทักษะและอำนาจการสั่งการที่เหนือกว่า
3. อำนาจโดยชอบตามกฎหมาย ซึ่งผู้มีอำนาจจะได้รับมอบหมายอำนาจซึ่งเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่น การยอมรับโครงสร้างทางสังคม สถานะ หรือ การเลื่อนตำแหน่งภายในขององค์กร
4. อำนาจจากการให้รางวัล ซึ่งเป็นประเด็นจากความเชื่อว่า บุคคลากรสามารถได้รับรางวัลจากผู้บังคับบัญชา จากการปฏิบัติงานหรือพฤติกรรม
5. อำนาจโดยการบีบบังคับ ซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจลงโทษ หากผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยอมเชื่อฟังทำตามคำสั่ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน