ความหมายของคำว่า ต้นทุน
ตามศัพท์บัญชีที่บัญญติโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยให้นิยามคำว่า “ต้นทุน” (Cost) ไว้ดังนี้
“รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หุ้นทุนหรือการให้บริการหรือการก่อหนี้ รวมถึงผลขาดทุนที่วัดค่าเป็นตัวเงินได้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ”
นักบัญชีต้นทุนบางท่านให้นิยามคำว่า ต้นทุน ไว้ดังนี้ “ต้นทุน หมายถึงเงินสดหรือสิ่งที่เทียมเท่าเงินสดซึ่งต้องเสียไปเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการโดยคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการในปัจจุบันหรืออนาคต” ถ้าประโยชน์นั้นยังคงเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดในอนาคตก็จะเรียกว่าต้นทุน แต่เมื่อใดที่ประโยชน์ได้เกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว ต้นทุนจะถูกจัดประเภทเป็นค่าใช้จ่าย (Expenses) ในงวดบัญชีที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือรายได้ขึ้นถ้าหากว่าประโยชน์สูญสิ้นไปโดยไม่เกิดประโยชน์ใดเลยทั้งปัจจุบันหรืออนาคตก็จะเรียกว่าผลขาดทุน (Loss)
หรือต้นทุน หมายถึง ข้อมูลทางบัญชี เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน ในด้านการวางแผนข้อมูลต้นทุนที่จะช่วยในการทำงบประมาณและประมาณต้นทุนการผลิตกำหนดราคาขาย ประมาณการผลกำไรได้ และใช้ในการตัดสินใจการลงทุนและการขยายงาน
หรือต้นทุน หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต หรือการบริการเป็นส่วนก็เรียกว่า มูลค่าของปัจจัยเข้า (Input Value) ของระบบ ต้นทุนจึงเป็นเงินสด หรือค่าใช้จ่ายรูปแบบอื่นที่จ่ายไปเพื่อจะให้ได้มาซึ่งบริการหรือผลผลิตในทางธุรกิจ ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายส่วนที่จ่ายไปเพื่อจะให้ได้ผลตอบแทนหรือรายได้
กิจการประเภทบริการ ต้นทุนจะหมายถึง จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการแก่ลูกค้า
กิจการประเภทจำหน่ายสินค้า ต้นทุนจะหมายถึง มูลค่าของสินค้าสำเร็จรูป
กิจการประเภทอุตสาหกรรม ต้นทุนจะหมายถึง จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอน
วัตถุประสงค์ของการบัญชีการเงิน คือ การรายงานฐานะทางการเงินของกิจการ และรายวางผลการเปลี่ยนแปลงเงินทุนของกิจการในแต่ละงวดบัญชีเนื่องมาจากการดำเนินงาน งบดุลเป็นงบที่แสดงถึงผลการดำเนินงาน แสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่นั้นได้ใช้ให้เกิดผลอย่างไรบ้างในงวดที่ผ่านมา
กำไรของธุรกิจวัดได้โดยนำเอาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายไปหักยอดรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นั้น
การบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีของกิจการ การบัญชีต้นทุนเป็นการบันทึกการวัดผลและการายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน ต้นทุนมีความหมายกว้างมาก หมายถึงเงินที่ได้จ่ายออกไปเงินที่สัญญาจะจ่ายในอนาคต ค่าของสินทรัพย์ที่ลดลงเนื่องจากการใช้งาน ซึ่งเหล่านี้จะรวมอยู่ในต้นทุนสินค้าคงเหลือ ต้นทุนของการเพิ่มปริมาณการขาย ต้นทุนที่ประหยัดได้เนื่องจากการปิดสายงานและอื่น ๆ
ในการตัดสินใจและประเมินผลงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องกิจการไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลภายนอก เช่น เจ้าของ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หรือเป็นบุคคลภายใน เช่น ฝ่ายบริหารของกิจการเป็นต้น ย่อมจะใช้ข้อมูลต้นทุนของกิจการเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ และประเมินผลงานเสนอซึ่งระบบบัญชีต้นทุนจะให้ข้อมูลดังกล่าว ฝ่ายบริหารของกิจการย่อมต้องการใช้ข้อมูลต้นทุนในการตัดสินใจวางแผนควบคุม และประเมินผลงานของฝ่ายต่างๆ ดังนั้นการบัญชีต้นทุนมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. การสะสมข้อมูลเพื่อจัดทำงบการเงิน
วัตถุประสงค์นี้เกี่ยวกับการรวบรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการสำหรับงวดหนึ่ง ๆ
ถึงว่าวัตถุประสงค์ข้อนี้จะถูกยกมาอ้างว่ากิจการต่าง ๆ ควรมีระบบบัญชีต้นทุรที่ดีตามวัตถุประสงค์ข้อนี้มีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุปรระสงค์อีก2 ข้อของการบัญชีต้นทุนแต่วิธีการคำนวณจะใช้วิธีใดนั้นไม่แน่นอนเพราะขึ้นกับข้อสมมุติที่ใช้ระบบบัญชีที่ดีควรง่ายและไม่ยุ่งยาก
มีข้อสังเกตว่า ไม่ว่ากิจการจะมีระบบบัญชีต้นทุนที่ดีเพียงใดก็ตามยังมีปัญหาในเรื่องการคำนวณกำไรและการแสดงฐานะการเงินอยู่ ปัญหาประการหนึ่งคือ ต้นทุนผลิตคงที่ควรถือเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ หรือต้นทุนผลิตคงที่บางส่วน
ในบางกิจการมีปัญหาในด้านต้นทุนร่วม (ต้นทุนที่เกิดขึ้นรวมกันในการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด) ความสำคัญของปัญหาต้นทุนร่วมจะมีน้อย เพราะว่ากิจการสนใจที่จะแบ่งต้นทุนร่วมนี้เพื่อหาราคาทุนของผลิตภัณฑ์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการบัญชีการเงินเท่านั้น ไม่ได้สนใจสำหรับการควบคุมต้นทุนและการตัดสินใจ
ต้นทุนผลิตภัณฑ์และต้นทุนสำหรับงวด (product costs and period costs) เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยปกติมักมีคุณศัพท์ประกอบคำว่าต้นทุนเสมอทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่ยังใช้ไม่หมด (unexpired costs) หรือต้นทุนที่ใช้หมดแล้ว (expired costs) คือต้นทุนที่ควรคิดเข้างวดปัจจุบัน (ต้นทุนสำหรับงวด) เป็นค่าใช้จ่ายหรือขาดทุน (expenses or losses) ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนเกี่ยวข้องกับงวดเวลา และไม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนจะโอนไปงวดอนาคต
ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่ผลิตเรียนว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์ (product costs) ต้นทุนเหล่านี้อาจถือเป็นสินทรัพย์ (สินค้าคงเหลือ) จนกว่าสินค้าที่ต้นทุนนั้นเกี่ยวข้องถูกขายไป ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะถือเป็นค่าใช้จ่ายและนำไปหักกับยอดขาย ต้นทุนทั้งหลายที่เป็นต้นทุนของสินค้าที่ผลิต (ที่อยู่ในงบต้นทุนผลิต) เรียกว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ วัตถุทางตรง แรงงานทางตรง และโสหุ้ยการผลิตถือเป็นราคาทุนของสินค้าคงเหลือ เพราะต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนของบริการที่ใช้ไปในการผลิต
2. การควบคุมและลดต้นทุน
ฝ่ายบริหารต้องการควบคุมต้นทุน คือต้องการพิจารณาให้แน่ว่าต้นทุนที่เเกิดขึ้นมีไม่มากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และแผนงาน แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องไม่ถือว่าการบัญชีต้นทุนเกี่ยวข้องกับการควบคุมต้นทุนเพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลของวัตถุประสงค์ในการคำนวณกำไร และแสดงฐานะการเงิน แต่ตรงกันข้ามการควบคุมต้นทุนเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งต่างหากของการบัญชีต้นทุน และการควบคุมอาจกระทำได้โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการวัดกำไรเลย
การควบคุมหรือการลดต้นทุนต้องใช้ระบบการบัญชีต้นทุนที่ค่อนข้างละเอียด โดยต้องรู้ว่าต้นทุนเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน ต้องรู้จำนวนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และจำนวนต้นทุนที่เหมาะสมที่ควรเกิดขึ้น ถ้าไม่มีข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าระบบการบัญชีต้นทุนให้ผลดีในการควบคุมต้นทุน
3. การตัดสินใจและวางแผน
วัตถุประสงค์ในการช่วยฝ่ายบริหารในการทำงานการตัดสินใจและวางแผนเป็นความรับผิดชอบสำคัญของระบบบัญชีต้นทุน มักมีคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนว่า ตัวเลขต้นทุนไม่อาจนำไปใช้สำหรับทำการตัดสินใจและวางแผนโดยสม่ำเสมอเป็นปกติ แต่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมข้อมูลต่าง ๆ ไว้จนกว่าจะต้องการใช้ข้อมูลนั้น นักบัญชีต้องรู้ว่าฝ่ายบริหารต้องตัดสินใจเรื่องอะไรก่อน จากนั้นก็จะแยกต้นทุนออกจากบันทึกต่าง ๆ และจัดให้อยู่ในลักษณะที่มีประโยชน์สำหรับใช้ตัดสินใจนั้น รายงานทางบัญชีตามปกติที่ได้มาจากบัญชีต้นทุนควรบอกให้ทราบถึงมาตรการการทำกำไรของการทำงาน เพื่อให้ประโยชน์ในการวัดผลงานและการควบคุมต้นทุน ต้นทุนหรือรายงานต้นทุนตามปกติ จึงไม่อาจมีประโยชน์สำหรับวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจ เพราะว่า การตัดสินใจแต่ละอย่างต้องใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน
Evaluation and control
-
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Evaluation and control)
มีความสาคัญและมีความสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์
โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น