อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) คือ อัตราส่วนระหว่าง สินทรัพย์หมุนเวียน และ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพคล่องของกิจการในการที่จะชำระหนี้ระยะสั้น หากอัตราส่วนนี้มีค่าน้อยกว่า 1 หมายความว่ากิจการมีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนทำให้อาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ หากอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น แต่หากมีค่าสูงกว่า 1 มาก ๆ อาจหมายถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ของกิจการไม่ดีพอ อย่างไรก็ตามสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท เช่น สินค้าคงเหลือ อาจมีมูลค่าลดลงหากต้องรีบขายเพื่อนำไปชำระหนี้ ทำให้บางทีเราอาจใช้อัตราส่วนที่ไม่นำสินค้าคงเหลือมาคิดด้วย หรือเรียกว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว(Quick ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio หรือ Acid test) คือ อัตราส่วนที่ปรับปรุงมาจากอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ซึ่งในการคำนวณจะไม่นำสินค้าคงเหลือมาคิดรวมกับสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และ สินทรัพย์ในความต้องการของตลาด เนื่องจากสินค้าคงเหลือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ช้ากว่า และอาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วบอกถึงสภาพคล่องของกิจการได้ดีกว่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียน
สภาพคล่อง (อังกฤษ: Market liquidity) หมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนสิ่งของหรือสินทรัพย์ไปเป็นเงินสด เช่นการขายของพอขายของก็จะได้เงินสดกลับมา การที่จะมีสภาพคล่องสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับการที่จะเปลี่ยนของหรือสินทรัพย์ชนิดนั้นไปเป็นเงินได้ในระยะเวลาเท่าใด และเป็นของทีมีอุปสงค์และอุปทานมากพอสมควร ของที่มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที ส่วนของทีมีสภาพคล่องต่ำจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในทันทีแต่ต้องใช้ระยะเวลาซักพักหนึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นของหรือสินทรัพย์ประเภทใด เช่นการขายหุ้นจะต้องทำการขายที่ตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้ก็ต้องดูสภาพคล่องในการตั้งราคาซึ้อขายหุ้นด้วยคือการตั้ง BID เพื่อซื้อ และ OFFER เพื่อขาย พอ MATCH กันก็หมายถึงรายการของผู้ที่ต้องการซื้อมาเจอกับรายการของผู้ที่ต้องการขายก็จะเกิดรายการซื้อขายขึ้น ผู้ซื้อก็ต้องชำระค่าหุ้นและผู้ขายหุ้นก็จะได้เงินสดกลับมา เพียงแต่สภาพคล่องของหุ้นจะไม่ได้เงินในทันทีที่ขายดังนั้นหุ้นจึงมีสภาพคล่องที่ไม่สูงมาก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น