การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

แผนธุรกิจคืออะไร

แผนธุรกิจคืออะไร • เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ • เป็นแผนที่ช่วยชี้แนะการดำเนินงานขั้นตอนต่าง ๆ ในการก่อตั้งและดำเนินกิจการ/ โครงการ • เป็นแผนที่ให้รายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์ การประมาณทางการเงิน โดยชี้ให้เห็นประเด็นจุดอ่อนและข้อควรระวัง
แผนธุรกิจมีความสำคัญอย่างไร • เป็นการให้รายละเอียดการเริ่มต้นธุรกิจ/ โครงการ เพื่อชี้นำเป้าหมายที่ชัดเจนให้แก่ผู้ประกอบการ • เป็นเครื่องมือในการหาแหล่งที่มาของเงินทุน จากผู้ร่วมทุน กองทุน และสถาบันการเงินต่าง ๆ • ให้รายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดหาเงินทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ฯลฯ
แผนธุรกิจควรมีอะไรบ้าง แผนธุรกิจที่ดีควรจะมีการวิเคราะห์รายละเอียดในตัวแปรสำคัญ ดังนี้ • สินค้าหรือบริการที่ขาย • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย • จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ ของธุรกิจ/ โครงการ
ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี เมื่อได้อ่านแล้ว ควรจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้ • การก่อตั้งธุรกิจ/ โครงการ มีความชัดเจนหรือสมบูรณ์แล้วหรือยัง • ธุรกิจ/ โครงการนี้มีความน่าลงทุนมากน้อยเพียงใด • ธุรกิจ/ โครงการมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มแรกมากน้อยเพียงใด • ธุรกิจ/ โครงการนี้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในระยะยาวมากน้อยเพียงใด • สินค้าและบริการจะต้องไปตามความต้องการของตลาด • ผู้บริหารจะต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงก่อน • การกำหนด ต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อม โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน และคำนึงถึงคุณค่าที่จะให้แก่ลูกค้าเป็นหลัก • ด้านการเงินจะต้องมีความชัดเจนว่าส่วนใดคือเงินส่วนตัว ส่วนใดคือเม็ดเงินของธุรกิจ • ต้องสามารถคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจ/ โครงการได้ • หากธุรกิจ/ โครงการเป็นการผลิตสินค้า ไม่ควร ลงทุนซื้อเครื่องจักรเกินความจำเป็น • พิจารณากระบวนการผลิตสินค้าว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ • สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ • กระบวนการทางการตลาดและกระบวนการผลิต มีทางเลือกอื่นที่ประหยัดมีประสิทธิภาพได้มากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่ • หน้าที่ต่าง ๆ ในด้านการผลิต การจัดการทางการเงิน การจัดองค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ • ธุรกิจ/ โครงการที่จะดำเนินการนั้น มีพนักงานที่มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอหรือไม่
เหตุผลหลักที่ผู้ประกอบการจะต้องทำแผนธุรกิจ • เพื่อที่จะได้เห็นทิศทางเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ • เป็นการสื่อทิศทางเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจให้แก่บุคคล หรือองค์กรที่สามารถจัดสรรเงินทุนให้ได้ทราบ • เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
องค์ประกอบหลักของแผนธุรกิจ ประกอบด้วย • ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าตนเองเป็นใคร • ธุรกิจของตนจะเดินไปในทิศทางไหน จะต้องอาศัยการกำหนดกรอบ 3 ประการ ได้แก่ - การกำหนดวิสัยทัศน์ - การกำหนดพันธกิจ - การกำหนดเป้าหมาย • รู้ว่าตนเองจะไปได้อย่างไรจะต้องมีการวางกลยุทธ์ในแต่ละระดับขั้น ซึ่งประกอบด้วย - กลยุทธ์ระดับองค์กร - กลยุทธ์ระดับธุรกิจ- กลยุทธ์ระดับหน้าที่
องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีการลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่นำเสนอ ดังนี้
• บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เป็นส่วนที่รวบรวมประเด็นหลัก ๆ ของแผนทั้งเล่ม จุดเด่น คือ จะต้องอ่านและจับประเด็นได้ง่าย เนื้อหาที่นำเสนอประกอบด้วย ชื่อโครงการ เจ้าของโครงการ สินค้าและบริการ เงินลงทุนในโครงการ โครงสร้างเงินทุนหลักทรัพย์ อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ อัตราผลตอบแทน ระยะเวลาคืนทุน
• วิสัยทัศน์ นำเสนอจุดมุ่งหมายของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ซึ่งมักประกอบด้วย จุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง สามารถวัดค่าได้ สามารถดำเนินการให้บรรลุได้ เป็นเหตุเป็นผลและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและมีกรอบระยะเวลาเป็นเครื่องกำหนด
• การวิเคราะห์ธุรกิจ/ โครงการ • การวิเคราะห์สถานการณ์ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะได้จากการประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ทั้งที่เป็นโอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ/ โครงการ
ปัจจัยภายนอกที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจมี 5 ประการหลัก ๆ ดังนี้ • กลุ่มผู้ซื้อ หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย • ค่านิยมทางวัฒนธรรมและสังคม • ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี • สถานการณ์ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • สถานการณ์ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบ กลุ่มผู้ผลิต/ จำหน่ายวัตถุดิบ และเครือข่ายธุรกิจ
2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ การวิเคราะห์ปัจจัยนี้ถือเป็นการตรวจสอบความสามารถความพร้อม จุดอ่อนและจุดแข็งของธุรกิจ/ โครงการ
อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนหลัก • กำหนดประเด็นที่มีอิทธิพลต่อความสามารถ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ต่อโครงการ • วิเคราะห์จัดกลุ่มของประเด็นต่าง ๆ เช่น จุดแข็ง หรือ จุดอ่อน • ประเมินความสำคัญของแต่ละประเด็น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร (เงิน คน ของ) เพื่อเสริมจุดแข็ง และลดจุดอ่อน • การวิเคราะห์การแข่งขัน
• พันธกิจ จะอธิบายความเป็นไปได้ของธุรกิจ/ โครงการ ซึ่งมักครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประการ คือ • สินค้าและบริการของคุณคืออะไร • ลูกค้าของคุณเป็นใคร • คุณค่าที่คุณมอบให้แก่ลูกค้าเป็นอย่างไร • ขณะนี้คุณเป็นอย่างไร • ต่อไปคุณควรจะเป็นอย่างไร
• โอกาสทางธุรกิจ เป็นการแสดงข้อมูลหรือ ภาพทางการตลาดในปัจจุบัน ซึ่งสื่อให้เห็นถึงโอกาสทางการตลาด
• กลยุทธ์ธุรกิจ เป็นการอธิบายให้เห็นถึงแนวทางและจุดแข็งของธุรกิจ/ โครงการ ในการบริหารโครงการ ประกอบด้วยเรื่องของ • ประสิทธิภาพทางธุรกิจ คุณภาพสินค้าและบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง รวมถึงนวัตกรรมในโครงการ • การบริหารต้นทุนให้ต่ำที่สุด • นำกลยุทธ์ “ ความแตกต่าง ” เข้ามาปรับใช้ • กำหนดกลยุทธ์เจาะกลุ่มตลาดเป้าหมาย • สามารถปรับตัวได้เร็ว
• กลยุทธ์ระดับหน้าที่ กำหนดเป็นข้อย่อยดังนี้ 1. การตลาด • แสดงรายละเอียดถึงวิธีการที่ธุรกิจเข้าไปเกี่ยวกับโอกาสทางการตลาด • แสดงถึงกิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจในปัจจุบันและแผนงานที่วางไว้ในอนาคต • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ • การทำตลาดและการขยายตลาด • รายละเอียดและการประเมินคู่แข่งขันทางธุรกิจ • วิธีการตอบโต้ทางธุรกิจ
2. กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน • แผนการผลิต • อธิบายถึงโครงสร้างกระบวนการผลิต • เทคนิคการผลิต • กระบวนการที่แปลสภาพจากวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการออกสู่ตลาด
3. กลยุทธ์การบริหารจัดการ • อธิบายถึงกลุ่มผู้บริหาร • ชี้ให้เห็นถึงปูมหลัง ประสบการณ์ จุดแข็งของบริษัท• แสดงให้เห็นถึงความสามารถของทีมบริหารที่จะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ • แผนการจัดองค์กร • โครงสร้างองค์กร
4. กลยุทธ์การบัญชีและการเงิน เป็นการนำเสนอข้อมูลด้านการเงินของบริษัท ประกอบด้วย • การแสดงข้อมูลรายละเอียดทางการเงินต่าง ๆ • งบดุลกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด • ข้อมูลด้านการเงินที่ผ่านมาอย่างน้อย 1-3 ปี และประมาณการทางการเงิน • อัตราผลตอบแทน • ระยะเวลาคืนทุน • การประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ
• การจัดการองค์กรและการดำเนินงาน • ในบางโครงการอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แผนการจัดองค์กร และแผนการดำเนินงาน • อธิบายถึงโครงสร้างของกิจการ • กระบวนการแปรสภาพจากวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือบริการออกสู่ตลาด
• รายละเอียดและการประเมินคู่แข่งขันทางธุรกิจ
• วิธีการตอบโต้ทางธุรกิจ
ในการนี้ทางธนาคาร เพื่อเห็นว่าการจัดสัมมนาแผนธุรกิจเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ OTOP และ ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจ ในการนำมาเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาการ ขอสินเชื่อกับธนาคาร อีกด้านหนึ่งนั้น เป็นการประหยัดเวลา ในการพิจารณาเอกสารประกอบของเจ้าหน้าที่ธนาคาร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน