การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

กรอบแนวคิดของ McKinsey

แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ของธุกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร ปัจจัย 7 ประการ นั้นแบ่งออกเป็น2 ส่วน ระหว่าง Soft กับ Hard
โดยองค์ประกอบในส่วน ของ Hard นั้น จะมี Strategy, Structure, System
· กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน ของกิจการ
· โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์กรที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ ของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาค ได้อย่างเหมาะสม
· ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฏิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ
โดยองค์ประกอบในส่วน ของ Soft นั้น จะมี Shared value, Style, Staff, Skill
· ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์กร ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
· รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์กร เช่น การสั่งการ การควบคุม กาจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กร
· การจัดการบุคคลเข้าทำงาน (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
· ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย การให้บริการ


เมื่อไหร่ทีจะนำมาใช้
ผลผลิตของมันสมองของพวกเขาถูกใช้ในแนวทางผ่านการขัดเกลามามากแล้ว อย่างไรก็ตามคือใบรายการที่ดีให้คำจำกัดความและการวิเคราะห์ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดหรือการวัดขององค์กร
7 S ใช้เพื่อเป็นการประเมินขั้นตอนของแผนกลยุทธ์ว่าโครงสร้างนั้นสามารถประสบความสำเร็จถึงจุดไหน เช่น waterman กล่าวว่า แนวความคิดของ 7 S นั้น เป็นความเข้าใจและการตัดสินใจ แต่อย่างไรนั้นทางเลือกทั้งหมดก็นำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น แน่ใจว่าคุณไม่เสนอกลยุทธ์หรือจุดมุ่งหมายที่จะขัดกับค่านิยมขององค์กร หรือความต้องการนั้นไม่มีภายในองค์กรเลย
ดังตัวอย่างประกอบ จะเห็นว่า 7 S ถ้ามีองค์ประกอบอื่นเข้ามาเสริม ก็จะต้องมาวิเคราะห์โครงสร้างและสนับสนุนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง
ความแตกต่างของความขัดแย้งหรือความเป็นไปได้ในการรวม แต่ละ S ในรายการทั้งหมด นั้นจะต้องทำการตัดสินใจว่าจะมีการเพิ่มกลยุทธ์แบบไหน หรือจะมีการเปลี่ยแปลงไปในทิศทางใดและเมื่อไหร่ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ 7 S สามารถช่วยทำให้เป็นประโยชน์มากกว่าที่เคยเป็น
Pascale ได้โต้แย้งไว้ว่า การที่แต่ละหน่วยงานนั้นจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับการจัดการอย่างชาญฉลาด การแข่งขัน ใน 7 S แต่ละตัว
การจัดการอย่างงชาญฉลาด ใช้ความขัดแย้งเป็นความท้าทายในการจัดการ ถึงแม้ว่าตัวอย่างตามที่ปรากฎนั้นชี้ให้เห็น การตัดสินใจ ของกลยุทธ์และเห็นถึงความสำคัญต่อการวิเคราะห์ทางเลือกของกลยุทธ์เมื่อกำจัดอุปสรรคได้แล้วโอกาสต่างๆก็จะเกิดขึ้นตามมา เหมือนกับ ฮอนด้า ที่เข้าสู่ตลาดมอเตอร์ไซด์ของ อเมริกา Howard Head ไม่ประสบความสำเร็จและผิดหวังกลับมา และได้วิเคราะห์และเข้าใจในวัตกรรมที่เขาสร้างขึ้นโดยพิจารณาก้าวเข้าสู่ตลาด อุปกรณ์กีฬา
สรุป
7 S เป็นการแรงกระตุ้นให้ก้าวผ่านอุปสรรค โดยการใช้ องค์ประกอบในส่วน ของ Soft การลำดับของ 7 S บ่อยครั้งที่เป็นรูปแบบของการจัดการ แบ่งแยกการตรวจสอบ ส่วนประกอบที่สำคัญขององค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง S แต่ละตัว หรือการวิเคราะห์ความขัดแย้งของโครงสร้างองค์กร และอาจจะละเลยในส่วนอื่น มีหลายรูปแบบที่สามารถนำมาปรับใช้กับระดับของ 7S

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน