การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

Careers in accounting

อาชีพทางด้านการบัญชี (Careers in accounting) คืองานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านในการประกอบอาชีพ อาชีพทางด้านการบัญชีสามารถจัดประเภทของนักบัญชี ได้ 3 ประเภทดังนี้
1. นักบัญชีส่วนบุคคล (Private accountants) หรือนักบัญชีบริหาร (Management accountants) หมายถึง นักบัญชีที่มีอาชีพในการรับจ้างทำบัญชีในองค์การธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะได้รับการว่าจ้างโดยองค์การธุรกิจ ให้เป็นพนักงานประจำสำหรับองค์การ นักบัญชีส่วนบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบการเก็บรวบรวมข้อมุล จดบันทึกรายการเพื่อเตรียมจัดทำงบการเงินและอธิบายผลของข้อมูลทางการเงินให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ หน้าที่การปฏิบัติงานของนักบัญชีส่วนบคุคลในองค์การธุรกิจมีดังต่อไปนี้
1.1 การบัญชีทั่วไป (General accounting) หมายถึงการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปของธุรกิจ เช่นรายการค้าทางด้านรายรับ รายจ่าย และการนำข้อมูลทางบัญชีไปตัดทำงบการเงินของกิจการเป็นต้น
1.2 การบัญชีต้นทุน (Cost accounting) หมายถึง การบัญชีที่เน้นเฉพาะการบันทึกรายการที่มีผลต่อการคำนวณหาต้นทุนสินค้าหรือบริการใช้ในกิจการที่ทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายต่อไป
1.3 การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) เป็นการบัญชีที่ทำหน้าที่ทางด้านการตั้งงบประมาณรายรับและรายจ่าย เช่น งบประมาณรายรายรับ งบประมาณรายจ่าย งบประมาณเงินสด เป็นต้น งบประมาณเป็นตัวควบคุมการดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเพื่อให้ผู้บริหารใช้สำหรับเปรียบเทียบในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงว่าเป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่
1.4 การบัญชีภาษีอากร (Tax accounting) เป็นการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านภาษีและการเตรียมการขอคืนภาษีขององค์การธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นการจัดทำบัญชีหรือปรับปรุงบัญชีเพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะมีผลต่อการเสียภาษีเงินได้ของกิจการ
1.5 การตรวจสอบภายใน (Internal auditing) เป็นงานด้านการตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการปฏิบัติว่าถูกต้องตรงตามระเบียบข้อบังคับของกิจการหรือไม่ งานด้านการตรวจสอบภายในมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นการทำหน้าที่แทนฝ่ายบริหารในการควบคุมดูแลการดำเนินงานของกิจการให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย และสำเร็จลุล่วงตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีหน่วยงานและพนักงานจำนวนมาก ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลได้ทั่วถึงทุกจุด จึงต้องอาศัยการตรวจสอบภายในทำหน้าที่รายงานข้อมูลผลการปฏิบัติต่างๆ ของหน่วยงานให้ทราบทุกขณะ ฝ่ายบริหารจึงจะสามารถวางแผน การดำเนินงานได้ถูกต้องต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน